นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2558 จะขยายตัวประมาณ 3-4% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำกว่าศักยภาพของไทย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโครงการประชานิยม ที่ยังคงกดดันการบริโภคและการใช้จ่ายของภาค ครัวเรือน เนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนสูง แต่ผลกระทบจากโครงการประชานิยมในช่วงปี 2558-2559 จะทยอยเริ่มลดลง จากนั้นคงใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะกลับมาปกติ ดังนั้นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคือการใช้จ่ายของภาครัฐ และการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ส่วนข้อเสนอที่ให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายโฆสิต กล่าวว่า คงไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะการบริโภคถูกกดดันจากนโยบายประชานิยม ควรใช้นโยบายการคลังมาดูแลเศรษฐกิจมากกว่า หากอัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไปจะส่งผลให้ประชาชนไม่ออมเงิน และส่งผลต่อปริมาณเงินออมในระบบลดลงได้ สำหรับสินเชื่อในปี 2558 จะขยายตัวเท่าไหร่นั้น คงมองลำบาก แต่จะโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะโต 3-4%
ปัจจัยที่ต้องจับตามองในปีหน้ามาจากปัจจัย ต่างประเทศคือการที่เศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตต่ำกว่า ที่คาดในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาเข้มแข็งมากขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยไปจีนได้ และต้องติดตามนโยบายการเงินของธนาคารกลางกลุ่มประเทศจี 3 คือ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีนโยบาย แตกต่างกันส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน เงินทุนเคลื่อนย้ายในปีหน้าให้มีความผันผวน ส่วนผลกระทบจากค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่าลงต่อประเทศไทยนั้น คงมีน้อย อยู่ในวงจำกัด มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยลดลงเท่านั้น
ส่วนข้อเสนอที่ให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น นายโฆสิต กล่าวว่า คงไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เพราะการบริโภคถูกกดดันจากนโยบายประชานิยม ควรใช้นโยบายการคลังมาดูแลเศรษฐกิจมากกว่า หากอัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไปจะส่งผลให้ประชาชนไม่ออมเงิน และส่งผลต่อปริมาณเงินออมในระบบลดลงได้ สำหรับสินเชื่อในปี 2558 จะขยายตัวเท่าไหร่นั้น คงมองลำบาก แต่จะโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะโต 3-4%
ปัจจัยที่ต้องจับตามองในปีหน้ามาจากปัจจัย ต่างประเทศคือการที่เศรษฐกิจจีนมีอัตราการเติบโตต่ำกว่า ที่คาดในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาเข้มแข็งมากขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยไปจีนได้ และต้องติดตามนโยบายการเงินของธนาคารกลางกลุ่มประเทศจี 3 คือ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่มีนโยบาย แตกต่างกันส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน เงินทุนเคลื่อนย้ายในปีหน้าให้มีความผันผวน ส่วนผลกระทบจากค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่าลงต่อประเทศไทยนั้น คงมีน้อย อยู่ในวงจำกัด มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยลดลงเท่านั้น