การประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ (9 ธ.ค.) เป็นการพิจารณารายงานของคณะอนุกรรมาธิการเรื่องการสร้างความปรองดอง ที่มีนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน ซึ่งได้เสนอให้นิรโทษกรรมกับคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 จนถึงก่อนเหตุการณ์ยึดอำนาจการปกครองปี 2557 โดยจะไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้ จะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อความปรองดองแห่งชาติที่จะมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการชุดต่างๆ ที่ได้เสนอมายังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน การนิรโทษกรรม จะยังไม่ใช่มติของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และจะถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อีกครั้งในวันที่ 15-17 ธันวาคมนี้ ซึ่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้แปรญัตติ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป
สำหรับกรอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะมีความชัดเจนหลังปีใหม่ โดยจะสามารถเริ่มร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา 120 วัน
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ข้อเสนอของคณะอนุกรรมาธิการชุดต่างๆ ที่ได้เสนอมายังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน การนิรโทษกรรม จะยังไม่ใช่มติของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และจะถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อีกครั้งในวันที่ 15-17 ธันวาคมนี้ ซึ่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้แปรญัตติ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อไป
สำหรับกรอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะมีความชัดเจนหลังปีใหม่ โดยจะสามารถเริ่มร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา 120 วัน