พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ดูแลงานจราจร กล่าวว่า นโยบายของ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)ต้องการมุ่งแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และสร้างระเบียบวินัยจราจรแก่ประชาชน ดังนั้นจึงได้มีนโยบายการกวดขันให้ประชาชนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องสวมหมวกนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งในส่วนของผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ซ้อนท้าย เนื่องจากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง และการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้งก็จะมีความรุนแรงต่อชีวิตอย่างมาก ดังนั้นการสวมหมวกนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้ส่วนหนึ่งโดยเบื้องต้น ตั้งแต่วันที่ 8-20 ธันวาคม บช.น.โดยตำรวจจราจรจะทำการรณรงค์ให้ผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนรถจักรยายนต์ต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งไม่ว่าจะโดยสารรถในระยะใกล้หรือไกล และหลังจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม จะเริ่มดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยการกวดขับจับกุมผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 122ได้กำหนดไว้ว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายขณะขับขี่หากฝ่าฝืนจะมีความผิด ดังนี้ 1.ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัยจะมีโทษปรับไม่เกิน 500บาท 2.ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยมีผู้โดยสารนั่งซ้อนท้ายหากผู้โดยสารไม่สวมหมวกนิรภัยจะมีโทษปรับเป็น 2 เท่าคือ ปรับได้ไม่เกิน 1,000 บาท
อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้มีข้อยกเว้นผู้ที่ไม่ต้องสวมใส่หมวกนิรภัยขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์เอาไว้คือ พระภิกษุ สามเณรและผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ที่ต้องใช้ผ้าโพกศีรษะดังนั้น บุคคลนอกเหนือจากนี้จะต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งในขณะขับขี่โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหากฝ่าฝืนตำรวจจราจรก็จะดำเนินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 122ได้กำหนดไว้ว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายขณะขับขี่หากฝ่าฝืนจะมีความผิด ดังนี้ 1.ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัยจะมีโทษปรับไม่เกิน 500บาท 2.ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยมีผู้โดยสารนั่งซ้อนท้ายหากผู้โดยสารไม่สวมหมวกนิรภัยจะมีโทษปรับเป็น 2 เท่าคือ ปรับได้ไม่เกิน 1,000 บาท
อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้มีข้อยกเว้นผู้ที่ไม่ต้องสวมใส่หมวกนิรภัยขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์เอาไว้คือ พระภิกษุ สามเณรและผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ที่ต้องใช้ผ้าโพกศีรษะดังนั้น บุคคลนอกเหนือจากนี้จะต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งในขณะขับขี่โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหากฝ่าฝืนตำรวจจราจรก็จะดำเนินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป