สำนักข่าวอิศรารายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.57 ซึ่งมีวาระสำคัญอยู่ที่การพิจารณาให้ข้าราชการตุลาการ 4 รายไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานอื่นของรัฐและเป็นข้าราชการการเมือง ซึ่งต้องให้ ก.ต. ให้ความเห็นชอบ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 59 ประกอบด้วย
1. นายวิรัช ชินวินิจกุล รองประธานศาลฎีกาซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 4พฤศจิกายน 2557 แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.) ตามที่ กระทรวงยุติธรรม เสนอ พร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิอื่นรวม 9 คน
2.นายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 ให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา) ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535
3. นายธานี สิงหนาถ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติ(สนช.)ประจำนายมนตรี ศรีเอี่ยมสอาด (ยังดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส)
และ 4.นายสุริยันต์ หงษ์วิไล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว สนช.นายมนตรี ศรีเอี่ยมสอาด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่วาระการประชุมดังกล่าว ปรากฎว่า นายวิรัช ชินวินิจกุล ได้แถลงต่อที่ประชุมขอถอนวาระการไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของตนเอง รวมถึงกรณีของ นายอดุลย์ ขันทอง ด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับแจ้งจาก นายมนตรี ศรีเอี่ยมสอาด สนช. ที่ขอถอนเรื่องการขอตัวนายธานี สิงหนาถ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติ และนายสุริยันต์ หงษ์วิไล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว ของตนเองออกไปด้วย
"ภายหลังการขอถอนเรื่องข้าราชการตุลาการทั้ง 4 ราย ออกจากวาระการประชุม นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธาน ก.ต. ได้กล่าวแสดงความขอบคุณต่อที่ประชุมด้วย" แหล่งข่าวระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้าที่จะมีการประชุม ก.ต.ครั้งนี้ วาระการเสนอเรื่องให้ ก.ต.พิจารณาเห็นชอบให้ข้าราชการตุลาการทั้ง 4 ราย ไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานอื่นของรัฐและข้าราชการเมืองดังกล่าว ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงตุลาการและวงนักกฎหมายอย่างมาก และยังก่อให้เกิดการแตกร้าวใน ก.ต.
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ถ้าในการประชุม ก.ต. ครั้งนี้ ไม่เห็นชอบ เท่ากับ ครม.หน้าแตก และอาจเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะแสดงความรับผิดชอบ จากการที่ไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อน โดยเฉพาะการเสนอแต่งตั้ง นายวิรัช ชินวินิจกุล ไปทำหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.) ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา
1. นายวิรัช ชินวินิจกุล รองประธานศาลฎีกาซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 4พฤศจิกายน 2557 แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.) ตามที่ กระทรวงยุติธรรม เสนอ พร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิอื่นรวม 9 คน
2.นายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2557 ให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา) ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535
3. นายธานี สิงหนาถ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติ(สนช.)ประจำนายมนตรี ศรีเอี่ยมสอาด (ยังดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส)
และ 4.นายสุริยันต์ หงษ์วิไล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว สนช.นายมนตรี ศรีเอี่ยมสอาด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่วาระการประชุมดังกล่าว ปรากฎว่า นายวิรัช ชินวินิจกุล ได้แถลงต่อที่ประชุมขอถอนวาระการไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของตนเอง รวมถึงกรณีของ นายอดุลย์ ขันทอง ด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับแจ้งจาก นายมนตรี ศรีเอี่ยมสอาด สนช. ที่ขอถอนเรื่องการขอตัวนายธานี สิงหนาถ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติ และนายสุริยันต์ หงษ์วิไล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว ของตนเองออกไปด้วย
"ภายหลังการขอถอนเรื่องข้าราชการตุลาการทั้ง 4 ราย ออกจากวาระการประชุม นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธาน ก.ต. ได้กล่าวแสดงความขอบคุณต่อที่ประชุมด้วย" แหล่งข่าวระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้าที่จะมีการประชุม ก.ต.ครั้งนี้ วาระการเสนอเรื่องให้ ก.ต.พิจารณาเห็นชอบให้ข้าราชการตุลาการทั้ง 4 ราย ไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานอื่นของรัฐและข้าราชการเมืองดังกล่าว ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงตุลาการและวงนักกฎหมายอย่างมาก และยังก่อให้เกิดการแตกร้าวใน ก.ต.
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ถ้าในการประชุม ก.ต. ครั้งนี้ ไม่เห็นชอบ เท่ากับ ครม.หน้าแตก และอาจเกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะแสดงความรับผิดชอบ จากการที่ไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อน โดยเฉพาะการเสนอแต่งตั้ง นายวิรัช ชินวินิจกุล ไปทำหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ(กพค.) ซึ่ง ครม.มีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา