นางสาวสารี อ๋องสมหวัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภาค กล่าวในเวทีเสวนา "ความเสมอภาคหญิง-ชาย ในรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปประเทศ" ที่เครือข่ายองค์กรสตรีหลายองค์กรร่วมกันจัดขึ้น เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเห็นว่าควรมีการหารือว่าจะทำอย่างไรให้มีการบรรจุเรื่องความเสมอภาคหญิง-ชาย ไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน รวมทั้งในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศของการแสดงความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการผลักดัน ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า
ขณะที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย กล่าวว่า ยอมรับว่ายังคงมีความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย จึงเป็นเรื่องสำคัญในการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคหญิง-ชาย ด้วยการยอมรับในบทบาทของสตรี รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ
นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสมาชิก สปช. กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีสตรีถูกเอาเปรียบและถูกทำร้าย รวมทั้งมีอำนาจการตัดสินใจที่น้อยกว่าชาย อีกทั้ง สัดส่วนของสตรีที่เข้ามามีบทบาทในสังคมยังมีน้อยเห็นได้จากจำนวนสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสปช.ที่มีจำนวนชายมากกว่า นอกจากนี้ เรื่องสิทธิมนุษยชนก็ยังมีปัญหา เพราะสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้สตรีมีความเสมอภาค ดังนั้น เห็นว่าการปฎิรูปบทบาทสตรีต้องให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมทุกด้าน
ทั้งนี้ วงเสวนาได้ข้อสรุปเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในการผลักดันเรื่องความเสมอภาคชาย หญิง อาทิ การกำหนดสัดส่วนจำนวนผู้หญิงมีบทบาทในการปฏิรูปประเทศ ระบบผู้แทนฯ และผู้นำการเมืองที่ดีต้องกำหนดสัดส่วนหญิงชายที่เท่าเทียมกัน และมีมาตราพิเศษ สนับสนุนให้สตรีเป็นผู้แทนฯ และผู้นำการเมืองที่ดี ส.ส. และ ส.ว.ต้องมีสัดส่วนของหญิง-ชายเท่าเทียมกัน
ขณะที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย กล่าวว่า ยอมรับว่ายังคงมีความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย จึงเป็นเรื่องสำคัญในการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคหญิง-ชาย ด้วยการยอมรับในบทบาทของสตรี รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ
นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสมาชิก สปช. กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีสตรีถูกเอาเปรียบและถูกทำร้าย รวมทั้งมีอำนาจการตัดสินใจที่น้อยกว่าชาย อีกทั้ง สัดส่วนของสตรีที่เข้ามามีบทบาทในสังคมยังมีน้อยเห็นได้จากจำนวนสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสปช.ที่มีจำนวนชายมากกว่า นอกจากนี้ เรื่องสิทธิมนุษยชนก็ยังมีปัญหา เพราะสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้สตรีมีความเสมอภาค ดังนั้น เห็นว่าการปฎิรูปบทบาทสตรีต้องให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมทุกด้าน
ทั้งนี้ วงเสวนาได้ข้อสรุปเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในการผลักดันเรื่องความเสมอภาคชาย หญิง อาทิ การกำหนดสัดส่วนจำนวนผู้หญิงมีบทบาทในการปฏิรูปประเทศ ระบบผู้แทนฯ และผู้นำการเมืองที่ดีต้องกำหนดสัดส่วนหญิงชายที่เท่าเทียมกัน และมีมาตราพิเศษ สนับสนุนให้สตรีเป็นผู้แทนฯ และผู้นำการเมืองที่ดี ส.ส. และ ส.ว.ต้องมีสัดส่วนของหญิง-ชายเท่าเทียมกัน