ทีแบน ทวง “เลิกใยหิน” วอน ก.อุตสาหกรรม หยุดโยกโย้ แฉ อิทธิพลการค้า รัสเซีย ต้นเหตุเตะถ่วงเวลายกเลิกแร่ใยหิน
วันนี้ (18 พ.ย.) นางสมบุญ ศรีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประทศไทย และผู้ประสานงานเครือข่ายยกเลิกใยหินแห่งประเทศไทย หรือ ทีแบน กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรม ยังไม่ส่งเรื่องยกเลิกใยหินให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ ทั้งที่เวลาผ่านมาตั้งแต่เมษายน 2554 เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ว่า ทางเครือข่ายฯ ได้เคยเข้าพบ นายปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 แต่ในการพบดังกล่าว นายปราโมทย์ ได้ขอเวลาสำหรับการดำเนินการ ซึ่งขณะนี้เวลาล่วงเลยมาอีกเดือนกว่าแล้ว ทางเครือข่ายฯ จำเป็นต้องติดตามความคืบหน้าการเสนอยกเลิกแร่ใยหิน โดยได้นัดหมายไว้ในวันพฤหัสบดีที่ 20 พ.ย. นี้ เวลา 14.30 น. ที่กระทรวงอุตสาหกรรม
นางสมบุญ กล่าวว่า นอกจากนี้ ทางเครือข่ายฯ ได้ประสาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้านสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข และคณะกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขอให้มาร่วมพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อติดตามการดำเนินการยกเลิกใยหิน เพราะเป็นเรื่องที่สาธารณะให้ความสนใจ ทั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากสมาชิกสภาปฏิรูป 3 ท่าน ที่จะร่วมเพื่อร่วมติดตามความคืบหน้าการดำเนินการยกเลิกใยหินของกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1. ศ.พญ.พรพรรณ บุญรัตพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข สปช. 2. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. และ 3. รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ สมาชิก สปช. และรองประธานของคณะกรรมการทั้งสองชุดดังกล่าว
“ขอวิงวอน กระทรวงอุตสาหกรรมอย่าได้ถ่วงเวลาทำให้เรื่องนี้ล่าช้าออกไป เพราะจะมีผลกระทบโดยเฉพาะกับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งตนได้พบเห็นความทุกข์จากการเจ็บป่วยมากมายและการดูแลรักษาไม่สามารถทำได้เมื่อเจ็บป่วย พร้อมกันนี้ ได้เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้การดำเนินการล่าช้าว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากแรงกดดันของประเทศที่ส่งใยหินมาขาย โดยผู้ส่งใยหินจากประเทศดังกล่าวพยายามให้ข้อมูลว่าใยหินไครโซไทล์มีความปลอดภัย และ สนับสนุนการคัดค้านการยกเลิกใยหินในประเทศไทยมาโดยตลอด ทั้งนี้ ประเทศที่ส่งใยหินมาขายประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง คือ ประเทศรัสเซีย โดยส่งมากว่า 5 หมื่นตันต่อปี” นางสมบุญ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 พ.ย.) นางสมบุญ ศรีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประทศไทย และผู้ประสานงานเครือข่ายยกเลิกใยหินแห่งประเทศไทย หรือ ทีแบน กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรม ยังไม่ส่งเรื่องยกเลิกใยหินให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ ทั้งที่เวลาผ่านมาตั้งแต่เมษายน 2554 เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ว่า ทางเครือข่ายฯ ได้เคยเข้าพบ นายปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 แต่ในการพบดังกล่าว นายปราโมทย์ ได้ขอเวลาสำหรับการดำเนินการ ซึ่งขณะนี้เวลาล่วงเลยมาอีกเดือนกว่าแล้ว ทางเครือข่ายฯ จำเป็นต้องติดตามความคืบหน้าการเสนอยกเลิกแร่ใยหิน โดยได้นัดหมายไว้ในวันพฤหัสบดีที่ 20 พ.ย. นี้ เวลา 14.30 น. ที่กระทรวงอุตสาหกรรม
นางสมบุญ กล่าวว่า นอกจากนี้ ทางเครือข่ายฯ ได้ประสาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปด้านสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข และคณะกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขอให้มาร่วมพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อติดตามการดำเนินการยกเลิกใยหิน เพราะเป็นเรื่องที่สาธารณะให้ความสนใจ ทั้งนี้ ได้รับการตอบรับจากสมาชิกสภาปฏิรูป 3 ท่าน ที่จะร่วมเพื่อร่วมติดตามความคืบหน้าการดำเนินการยกเลิกใยหินของกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1. ศ.พญ.พรพรรณ บุญรัตพันธ์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข สปช. 2. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สปช. และ 3. รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ สมาชิก สปช. และรองประธานของคณะกรรมการทั้งสองชุดดังกล่าว
“ขอวิงวอน กระทรวงอุตสาหกรรมอย่าได้ถ่วงเวลาทำให้เรื่องนี้ล่าช้าออกไป เพราะจะมีผลกระทบโดยเฉพาะกับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งตนได้พบเห็นความทุกข์จากการเจ็บป่วยมากมายและการดูแลรักษาไม่สามารถทำได้เมื่อเจ็บป่วย พร้อมกันนี้ ได้เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้การดำเนินการล่าช้าว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากแรงกดดันของประเทศที่ส่งใยหินมาขาย โดยผู้ส่งใยหินจากประเทศดังกล่าวพยายามให้ข้อมูลว่าใยหินไครโซไทล์มีความปลอดภัย และ สนับสนุนการคัดค้านการยกเลิกใยหินในประเทศไทยมาโดยตลอด ทั้งนี้ ประเทศที่ส่งใยหินมาขายประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง คือ ประเทศรัสเซีย โดยส่งมากว่า 5 หมื่นตันต่อปี” นางสมบุญ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่