นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานการพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 8 (H5N8) โดยไทยพบเพียง 1 สายพันธุ์ คือ เอช 5 เอ็น1 (H5N1) ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ระบบหายใจล้มเหลว และในช่วงนี้หลายพื้นที่อากาศหนาวเย็น เริ่มมีนกอพยพหนีสภาพอากาศหนาวจากต่างประเทศมาอยู่ที่ประเทศไทย อาจนำเชื้อมาแพร่ได้ แม้ว่าไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นมาก็ตาม แต่ไทยยังมีความเสี่ยงต่อการระบาดได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ H5N1 ที่ยังพบผู้ป่วยในปี 2557 ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง จุดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือตามแนวชายแดน ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นหนักจังหวัดที่เคยพบสัตว์ปีกหรือคนติดเชื้อไข้หวัดนก และจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว และไทย-พม่า โดยให้ดำเนินการเฝ้าระวังทั้งในชุมชน และในโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถตรวจจับโรคได้อย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัยให้สอบสวนโรค ซักประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกทุกราย และเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ส่วนในสัตว์ปีกให้ อสม.ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เฝ้าระวังการป่วย/ตายผิดปกติในสัตว์ปีกที่เลี้ยงตามบ้านเรือนและธรรมชาติ หากพบให้เก็บซากสัตว์ปีกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทันทีและแจ้งหน่วยงานสาธารณสุข
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นหนักจังหวัดที่เคยพบสัตว์ปีกหรือคนติดเชื้อไข้หวัดนก และจังหวัดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว และไทย-พม่า โดยให้ดำเนินการเฝ้าระวังทั้งในชุมชน และในโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถตรวจจับโรคได้อย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยที่มีอาการในข่ายสงสัยให้สอบสวนโรค ซักประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกทุกราย และเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ส่วนในสัตว์ปีกให้ อสม.ร่วมกับปศุสัตว์จังหวัด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เฝ้าระวังการป่วย/ตายผิดปกติในสัตว์ปีกที่เลี้ยงตามบ้านเรือนและธรรมชาติ หากพบให้เก็บซากสัตว์ปีกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทันทีและแจ้งหน่วยงานสาธารณสุข