เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาส 3 เติบโตเกินคาดหมายส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ทางกลับกันก็ฉุดให้ราคาน้ำมันเมื่อวันพฤหัสบดี(30ต.ค.) ปิดลบแรง เนื่องจากดอลลาร์ที่แข็งค่า ทำให้น้ำมันดิบมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 1.08 ดอลลาร์ ปิดที่ 81.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 88 เซนต์ ปิดที่ 86.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557 ขยายตัว 3.5% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ว่าจะเติบโตที่อัตรา 3%
ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาดนั้น ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมครั้งล่าสุด เฟดยืนยันว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกก็ตาม และในการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ประกาศยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพราะเล็งเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานฟื้นตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ต.ค. เพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล แตะ 379.7 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งน้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 776,000 บาร์เรล สู่ระดับ 21.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.
สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 1.08 ดอลลาร์ ปิดที่ 81.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 88 เซนต์ ปิดที่ 86.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบร่วงลงเนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557 ขยายตัว 3.5% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ว่าจะเติบโตที่อัตรา 3%
ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3 ที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาดนั้น ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าอาจจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าในแถลงการณ์ภายหลังการประชุมครั้งล่าสุด เฟดยืนยันว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำต่อไปอีกก็ตาม และในการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ประกาศยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพราะเล็งเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจและตลาดแรงงานฟื้นตัวดีขึ้น
นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ต.ค. เพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล แตะ 379.7 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งน้ำมัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 776,000 บาร์เรล สู่ระดับ 21.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.