ที่สน.ชนะสงคราม เมื่อเวลา 13.20 น.วันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา พล.ท.ผดุง นิเวศวรรณ ประธานมูลนิธิคณะบุคคลพอเพียง และ พล.ท.พิทยา วิมะลิน นายทหารนอกราชการ เข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ให้ดำเนินคดีกับ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักเขียนชื่อดัง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกรณีที่นายสุลักษณ์ ได้ร่วมอภิปรายหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยคณะสภาหน้าโดม เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา
โดยนายพลทั้งสองผู้แจ้งความระบุว่า ในการอภิปรายดังกล่าว นายสุลักษณ์ได้กล่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอดีตพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยอ้างว่า การทรงกระทำยุทธหัตถีไม่มีจริง และมีอีกหลายถ้อยคำที่เข้าข่าย “หมิ่นเบื้องสูง”
รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงหลังนายสุลักษณ์เคยถูกฟ้องด้วยคดี“หมิ่นเบื้องสูง”ตามมาตรา 112 รวม 2 ครั้ง คดีแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2547 นายสุลักษณ์ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่อง “สังคมไทยทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ” ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปรายนายสุลักษณ์ได้ประชาสัมพันธ์ถึงหนังสือวารสาร Seeds of Peace ซึ่งเป็นวารสารภาษาอังกฤษที่นำมาวางจำหน่ายหน้าห้องอภิปราย ในวารสารดังกล่าวมีบทความเรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า บี.พี. เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติที่ไปฟังการเสวนาได้ซื้อวารสารมาอ่านพบบทความดังกล่าว จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและแจ้งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ มีการตั้งคณะทำงานสอบสวน ผลการสอบสวนพบว่าวารสารฉบับดังกล่าวนี้มิได้มีการจดแจ้งต่อนายทะเบียนการพิมพ์กรุงเทพมหานคร และข้อความในวารสารเข้าข่ายหมิ่นตามมาตรา 112 จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา
ต่อมาอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคนที่อ่านบทความ แสดงความคิดเห็นไม่ยืนยันไปในทางเดียวกันว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความ เป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฎบทความเท่านั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา
คดีที่สอง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ย.2551 พ.ต.อ.คัชชา ธาตุศาสตร์ รอง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น นำกำลังพร้อมหมายศาลจังหวัดขอนแก่น เลขที่ 431/2551 ลงวันที่ 22 กันยายน 2551 เดินทางเข้าจับกุม นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยจับกุมได้ที่บ้านพักในกรุงเทพ
สำหรับการจับกุมครั้งนี้ เนื่องจากนายสุลักษณ์ได้ไปบรรยายในหัวข้อปรัชญาพื้นบ้านอีสาน ที่อาคารพระราชทานปริญญาบัตรหลังเก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 โดยเนื้อหาคำบรรยายมีการกล่าวพาดพิงเบื้องสูง เจ้าหน้าที่จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานก่อนเสนอศาลอนุมัติหมายจับ
เบื้องต้น นายสุลักษณ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอให้การในชั้นศาล เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวนายสุลักษณ์ ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น เพื่อสอบปากคำ และพิจารณาแล้วเห็นว่านายสุลักษณ์ให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี ไม่มีพฤติกรรมหลบหนี จึงอนุญาตให้คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ตำแหน่งยื่นขอประกันตัวนายสุลักษณ์ในชั้นสอบสวนและในชั้นศาลเพื่อต่อสู้คดีต่อไป
โดยนายพลทั้งสองผู้แจ้งความระบุว่า ในการอภิปรายดังกล่าว นายสุลักษณ์ได้กล่าวหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอดีตพระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยอ้างว่า การทรงกระทำยุทธหัตถีไม่มีจริง และมีอีกหลายถ้อยคำที่เข้าข่าย “หมิ่นเบื้องสูง”
รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงหลังนายสุลักษณ์เคยถูกฟ้องด้วยคดี“หมิ่นเบื้องสูง”ตามมาตรา 112 รวม 2 ครั้ง คดีแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2547 นายสุลักษณ์ได้รับเชิญไปอภิปรายเรื่อง “สังคมไทยทางรอดที่ควรเลือก เหลียวหลังแลหน้าจากราชดำเนินถึงตากใบ” ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างการอภิปรายนายสุลักษณ์ได้ประชาสัมพันธ์ถึงหนังสือวารสาร Seeds of Peace ซึ่งเป็นวารสารภาษาอังกฤษที่นำมาวางจำหน่ายหน้าห้องอภิปราย ในวารสารดังกล่าวมีบทความเรื่อง SIAM of the Forgotten Monarch: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile ที่เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า บี.พี. เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติที่ไปฟังการเสวนาได้ซื้อวารสารมาอ่านพบบทความดังกล่าว จึงได้รายงานผู้บังคับบัญชาและแจ้งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบ มีการตั้งคณะทำงานสอบสวน ผลการสอบสวนพบว่าวารสารฉบับดังกล่าวนี้มิได้มีการจดแจ้งต่อนายทะเบียนการพิมพ์กรุงเทพมหานคร และข้อความในวารสารเข้าข่ายหมิ่นตามมาตรา 112 จึงได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา
ต่อมาอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เนื่องจากพิจารณาเห็นแล้วว่า จากคำให้การของพยานบุคคลจำนวนหลายคนที่อ่านบทความ แสดงความคิดเห็นไม่ยืนยันไปในทางเดียวกันว่า บทความดังกล่าวมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประกอบกับไม่มีพยานยืนยันว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เขียนบทความ เป็นเพียงผู้เสนอขายวารสารที่ปรากฎบทความเท่านั้นจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหามีเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา
คดีที่สอง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ย.2551 พ.ต.อ.คัชชา ธาตุศาสตร์ รอง ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น นำกำลังพร้อมหมายศาลจังหวัดขอนแก่น เลขที่ 431/2551 ลงวันที่ 22 กันยายน 2551 เดินทางเข้าจับกุม นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยจับกุมได้ที่บ้านพักในกรุงเทพ
สำหรับการจับกุมครั้งนี้ เนื่องจากนายสุลักษณ์ได้ไปบรรยายในหัวข้อปรัชญาพื้นบ้านอีสาน ที่อาคารพระราชทานปริญญาบัตรหลังเก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 โดยเนื้อหาคำบรรยายมีการกล่าวพาดพิงเบื้องสูง เจ้าหน้าที่จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานก่อนเสนอศาลอนุมัติหมายจับ
เบื้องต้น นายสุลักษณ์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และขอให้การในชั้นศาล เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวนายสุลักษณ์ ส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น เพื่อสอบปากคำ และพิจารณาแล้วเห็นว่านายสุลักษณ์ให้การเป็นประโยชน์ต่อคดี ไม่มีพฤติกรรมหลบหนี จึงอนุญาตให้คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้ตำแหน่งยื่นขอประกันตัวนายสุลักษณ์ในชั้นสอบสวนและในชั้นศาลเพื่อต่อสู้คดีต่อไป