นายสมชาย แสวงการ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนช.ยังไม่ได้รับสำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ นายนิคม ไวยรัชพานิช ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ส่งกลับมา โดยตามกระบวนการนั้นเมื่อประธาน สนช.รับเรื่องไว้อาจใช้ดุลพินิจในการบรรจุระเบียบวาระ หรือ อาจส่งให้วิป สนช.พิจารณากลั่นกรองเรื่องก่อน แต่โดยส่วนตัวเห็นว่า สนช.มีอำนาจในการรับไว้พิจารณา แม้ ป.ป.ช. จะยืนยันความผิดตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่สิ้นสภาพไปแล้ว เนื่องจาก ป.ป.ช. สามารถใช้อำนาจตามข้อบัญญัติในมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ดำเนินการตามประเพณีปกครองได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากในที่ประชุม ที่อาจต้องลงมติหลังการอภิปรายในอำนาจหน้าที่ถอดถอนของ สนช.
นอกจากนี้ นายสมชาย กล่าวถึงกรณีที่อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยอำนาจถอดถอนของ สนช.ว่า อดีต ส.ส.เพื่อไทยไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีข้อบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 รองรับ โดยมาตรา 5 นอกจากจะให้ สนช.ใช้ดุลพินิจชี้ขาดตามประเพณีปกครองแล้ว ยังเปิดช่องทางในการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้เป็นหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น
นายสมชาย กล่าวปฏิเสธข่าวความเห็นต่างในวิป สนช. ประเด็นอำนาจการถอดถอน เพราะขณะนี้ยังไม่มีการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการ โดยจะนัดหารือเมื่อประธาน สนช.ส่งเรื่องให้วิป สนช.กลั่นกรองแล้ว
นอกจากนี้ นายสมชาย กล่าวถึงกรณีที่อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยอำนาจถอดถอนของ สนช.ว่า อดีต ส.ส.เพื่อไทยไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีข้อบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 รองรับ โดยมาตรา 5 นอกจากจะให้ สนช.ใช้ดุลพินิจชี้ขาดตามประเพณีปกครองแล้ว ยังเปิดช่องทางในการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้เป็นหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา และศาลปกครองสูงสุดเท่านั้น
นายสมชาย กล่าวปฏิเสธข่าวความเห็นต่างในวิป สนช. ประเด็นอำนาจการถอดถอน เพราะขณะนี้ยังไม่มีการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการ โดยจะนัดหารือเมื่อประธาน สนช.ส่งเรื่องให้วิป สนช.กลั่นกรองแล้ว