ตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(1ก.ย.) ปิดลบอย่างแรง จากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ผสมผสานของสหรัฐฯท่ามกลางความกังวลต่อการเติบโตเศรษฐกิจโลก และกรณีพบผู้ติดเชื้ออีโบลารายแรกในอเมริกา
ดาวโจนส์ ลดลง 238.19 จุด (1.40 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,804.71 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 26.13 จุด (1.32 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,946.16 จุด แนสแดค ลดลง 71.30 จุด (1.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,422.09 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อข่าวการพบผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลารายแรกในสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อมาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.ย.ปรับตัวลงแตะ 50.3 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จากระดับ 50.7 ในเดือนก.ค. และลดลงเมื่อเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 50.5
ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ตุลาคม 2557) ดัชนี Stoxx 600 Europe ปรับตัวลง 0.8% ปิดที่ 340.22 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,382.03 จุด ลดลง 92.27 จุด หรือ -0.97% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,365.27 จุด ลดลง 50.97 จุด หรือ -1.15% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,557.52 จุด ลดลง 65.20 จุด หรือ -0.98%
ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหลังจากรัฐบาลอิตาลีคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะหดตัวลง 0.3% ในปีนี้ และคาดว่าจีดีพีในปีหน้าจะฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะเดียวกันตลาดได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะชะลอเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ระดับ 3% ของจีดีพีไปจนกว่าจะถึงปี 2558 เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลดลงแตะ 57.5 ในเดือนก.ย. จากระดับ 57.9 ในเดือนส.ค. ขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย.ลดลงแตะ 56.6 ในเดือนก.ย. จากระดับ 59.0 ในเดือนส.ค.
ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงแตะ 57.5 ในเดือนก.ย. จากระดับ 57.9 ในเดือนส.ค. และค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 0.8% จากปีก่อน แตะที่ 9.6096 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 0.5%
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลด้านแรงงานที่แข็งแกร่งได้ช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับตลาดแรงงานสหรัฐ โดย ADP เปิดเผยว่า ภาคเอกชนสหรัฐจ้างงานเพิ่ม 213,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ตำแหน่ง
ดาวโจนส์ ลดลง 238.19 จุด (1.40 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,804.71 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 26.13 จุด (1.32 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,946.16 จุด แนสแดค ลดลง 71.30 จุด (1.59 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 4,422.09 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลต่อข่าวการพบผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลารายแรกในสหรัฐ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อมาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนในเดือนก.ย.ปรับตัวลงแตะ 50.3 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จากระดับ 50.7 ในเดือนก.ค. และลดลงเมื่อเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 50.5
ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ตุลาคม 2557) ดัชนี Stoxx 600 Europe ปรับตัวลง 0.8% ปิดที่ 340.22 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,382.03 จุด ลดลง 92.27 จุด หรือ -0.97% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,365.27 จุด ลดลง 50.97 จุด หรือ -1.15% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,557.52 จุด ลดลง 65.20 จุด หรือ -0.98%
ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหลังจากรัฐบาลอิตาลีคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะหดตัวลง 0.3% ในปีนี้ และคาดว่าจีดีพีในปีหน้าจะฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะเดียวกันตลาดได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะชะลอเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณลงสู่ระดับ 3% ของจีดีพีไปจนกว่าจะถึงปี 2558 เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวลง
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลดลงแตะ 57.5 ในเดือนก.ย. จากระดับ 57.9 ในเดือนส.ค. ขณะที่สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย.ลดลงแตะ 56.6 ในเดือนก.ย. จากระดับ 59.0 ในเดือนส.ค.
ขณะที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงแตะ 57.5 ในเดือนก.ย. จากระดับ 57.9 ในเดือนส.ค. และค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลง 0.8% จากปีก่อน แตะที่ 9.6096 แสนล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 0.5%
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลด้านแรงงานที่แข็งแกร่งได้ช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับตลาดแรงงานสหรัฐ โดย ADP เปิดเผยว่า ภาคเอกชนสหรัฐจ้างงานเพิ่ม 213,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 205,000 ตำแหน่ง