รศ. ดร.ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง นักวิจัย สกว. เปิดเผยถึงการจัดงาน The 10th Taipei International Invention Show & Technomart ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 21 กันยายน 2557 ณ Taipei World Trade Centre (TWTC) กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ว่ามีผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจาก สกว. ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงานนี้ ทั้งสิ้น 2 ผลงาน ซึ่งสามารถคว้ารางวัลจากการประกวดภายในงาน นับเป็นเกียรติประวัติและความสำเร็จอย่างสูง ประกอบด้วย ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติที่มีกลิ่นหอมยาวนาน” โดย รศ. ดร.ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง และ ดร.พรทิพย์ ปานอิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการรับทุนฝ่ายอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Medal Award)
พร้อมกับรางวัลพิเศษอีก 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลพิเศษ (Special AwardX มอบจากประเทศเกาหลีไต้ และรางวัลผู้นำนวัตกรรม (Leading Innovation Award) มอบจากเครือข่ายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (IIPNF)
ขณะที่ผลงาน “นวัตกรรมเซ็นเซอร์บนกระดาษแบบพกพาสำหรับการตรวจวัดโลหะหนัก” โดย ศ. ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และนายภูมิรัตน รัตน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ได้รับรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal Award) และรางวัลพิเศษอีก 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลเกียรติยศสิ่งประดิษฐ์ (Honor of Invention) จากประเทศไต้หวัน
สำหรับผลงาน “ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติที่มีกลิ่นหอมยาวนาน” ได้พัฒนาระบบกักเก็บน้ำหอมที่สามารถปลดปล่อยกลิ่นได้ยาวนานมากกว่า 1 ปี ผลิตจากโพลิเมอร์ธรรมชาติที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใส่ในผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติได้หลากหลายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมตามความต้องการของผู้ใช้ และคงความหอมได้ยาวนานมากกว่า 1 ปี อาทิ ที่นอน หมอนยางพารา ถุงมือแม่บ้าน และแผ่นยางพื้นรองเท้า และผลิตภัณฑ์จากยางพาราอีกหลายชนิด ส่วนผลงาน “นวัตกรรมเซ็นเซอร์บนกระดาษแบบพกพาสำหรับการตรวจวัดโลหะหนัก” นั้น ได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดโลหะหนักในรูปแบบเซ็นเซอร์กระดาษ ที่สามารถตรวจวัดโลหะหนัก 6 ชนิดได้ในเวลาเดียวกัน ได้แก่ นิเกิล (Ni) เหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) โครเมียม (Cr) เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก พกพาสะดวก ใช้งานง่าย และประหยัด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการตรวจวัดคุณภาพอากาศและน้ำในเขตอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ภายในงาน The 10th Taipei International Invention Show & Technomart มีการประกวดและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีซึ่งเป็นผลงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่มาร่วมออกบูธแสดงผลงานมากกว่า 1,000 บูธ ประกอบด้วยผลงานและสิทธิบัตรจำนวนมากกว่า 2,000 ชิ้น มีผู้เข้าร่วมชมงานในแต่ละปีประมาณ 2–3 หมื่นคน โดยมีประเทศที่ได้รับเชิญนำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงครั้งนี้รวมกว่า 15 ประเทศ อาทิ สหรัฐ อังกฤษ ฮังการี ญี่ปุ่น เกาหลีไต้ โปแลนด์ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.)
พร้อมกับรางวัลพิเศษอีก 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลพิเศษ (Special AwardX มอบจากประเทศเกาหลีไต้ และรางวัลผู้นำนวัตกรรม (Leading Innovation Award) มอบจากเครือข่ายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (IIPNF)
ขณะที่ผลงาน “นวัตกรรมเซ็นเซอร์บนกระดาษแบบพกพาสำหรับการตรวจวัดโลหะหนัก” โดย ศ. ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และนายภูมิรัตน รัตน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ได้รับรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal Award) และรางวัลพิเศษอีก 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลเกียรติยศสิ่งประดิษฐ์ (Honor of Invention) จากประเทศไต้หวัน
สำหรับผลงาน “ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติที่มีกลิ่นหอมยาวนาน” ได้พัฒนาระบบกักเก็บน้ำหอมที่สามารถปลดปล่อยกลิ่นได้ยาวนานมากกว่า 1 ปี ผลิตจากโพลิเมอร์ธรรมชาติที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใส่ในผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติได้หลากหลายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมตามความต้องการของผู้ใช้ และคงความหอมได้ยาวนานมากกว่า 1 ปี อาทิ ที่นอน หมอนยางพารา ถุงมือแม่บ้าน และแผ่นยางพื้นรองเท้า และผลิตภัณฑ์จากยางพาราอีกหลายชนิด ส่วนผลงาน “นวัตกรรมเซ็นเซอร์บนกระดาษแบบพกพาสำหรับการตรวจวัดโลหะหนัก” นั้น ได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดโลหะหนักในรูปแบบเซ็นเซอร์กระดาษ ที่สามารถตรวจวัดโลหะหนัก 6 ชนิดได้ในเวลาเดียวกัน ได้แก่ นิเกิล (Ni) เหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) ตะกั่ว (Pb) แคดเมียม (Cd) โครเมียม (Cr) เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก พกพาสะดวก ใช้งานง่าย และประหยัด เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการตรวจวัดคุณภาพอากาศและน้ำในเขตอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ภายในงาน The 10th Taipei International Invention Show & Technomart มีการประกวดและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีซึ่งเป็นผลงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศที่มาร่วมออกบูธแสดงผลงานมากกว่า 1,000 บูธ ประกอบด้วยผลงานและสิทธิบัตรจำนวนมากกว่า 2,000 ชิ้น มีผู้เข้าร่วมชมงานในแต่ละปีประมาณ 2–3 หมื่นคน โดยมีประเทศที่ได้รับเชิญนำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงครั้งนี้รวมกว่า 15 ประเทศ อาทิ สหรัฐ อังกฤษ ฮังการี ญี่ปุ่น เกาหลีไต้ โปแลนด์ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.)