นายธีรพจน์ กษิรวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 22 ก.ย. 2557 ณ ห้องนพรัตน์ โรงแรมกระบี่มาริไทม์ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมเวทีสัมมนาวิชาการปฏิรูปพลังงาน “ปฏิรูปแล้วกระบี่ได้อะไร” เพื่อเป็นข้อมูลในการเห็นด้วย หรือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมจำนวนมาก ทั้งจากตัวแทนของ กฟผ.และภาคประชาชน เช่น นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นายอมฤต ศิริพรจุฑากุล ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ และอีกหลายท่าน
โดยบนเวทีจะได้รับฟังความรู้รอบด้านของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังผลิต 870 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจในการสนับสนุนหรือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการวางแนวทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าในแนวทางนี้อาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นการล่มสลายของชุมชน การล่มสลายของภาคการท่องเที่ยว และเมื่อดำเนินการไปแล้วจะมีผลกระทบสืบเนื่องไปอย่างยาวนาน ทั้งๆ ที่ยังมีทางเลือกอย่างอื่นอีกมากมายที่สามารถดำเนินการพัฒนาด้านพลังงานให้มั่นคง และยั่งยืน
โดยที่ทุกฝ่ายยังคงได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น กระบวนการตัดสินใจในการดำเนินการตามแนวนโยบายด้านพลังงานของรัฐส่วนกลางในประเด็นนี้จึงต้องได้รับการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ภายใต้การมีข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบด้านและครบถ้วน การจะเห็นด้วย หรือคัดค้านจะต้องมีข้อมูลทั้งสองด้าน
เวทีนี้เป็นโอกาสเดียวที่ข้อมูลทั้งสองด้านจะถูกพูดถึงพร้อมๆ กัน โดยมีตัวแทนทั้งด้านการท่องเที่ยว พลังงานทดแทน นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กฟผ.เข้าร่วมเวที
โดยบนเวทีจะได้รับฟังความรู้รอบด้านของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังผลิต 870 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินใจในการสนับสนุนหรือคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการวางแนวทางการพัฒนาโรงไฟฟ้าในแนวทางนี้อาจจะส่งผลรุนแรงถึงขั้นการล่มสลายของชุมชน การล่มสลายของภาคการท่องเที่ยว และเมื่อดำเนินการไปแล้วจะมีผลกระทบสืบเนื่องไปอย่างยาวนาน ทั้งๆ ที่ยังมีทางเลือกอย่างอื่นอีกมากมายที่สามารถดำเนินการพัฒนาด้านพลังงานให้มั่นคง และยั่งยืน
โดยที่ทุกฝ่ายยังคงได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น กระบวนการตัดสินใจในการดำเนินการตามแนวนโยบายด้านพลังงานของรัฐส่วนกลางในประเด็นนี้จึงต้องได้รับการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ภายใต้การมีข้อมูลอย่างเพียงพอเพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบด้านและครบถ้วน การจะเห็นด้วย หรือคัดค้านจะต้องมีข้อมูลทั้งสองด้าน
เวทีนี้เป็นโอกาสเดียวที่ข้อมูลทั้งสองด้านจะถูกพูดถึงพร้อมๆ กัน โดยมีตัวแทนทั้งด้านการท่องเที่ยว พลังงานทดแทน นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กฟผ.เข้าร่วมเวที