ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครองที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เสนอ ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้มีคิดเห็นแตกต่างจากผู้พิพากษาค่อนข้างสูง จนทำให้ตุลาการศาลปกครองจำนวน 101 คน ต้องเข้ายื่นหนังสือขอให้ สนช.ชะลอการพิจารณา แต่ที่สุดที่ประชุมฯ ได้เดินหน้าพิจารณาต่อ
ทั้งนี้ สมาชิก สนช.อภิปรายตั้งข้อสังเกตถึงสถานะของกรรมการตุลาการศาลปกครอง หลังจากรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดไปว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ เพราะไม่เห็นด้วยกับบทบัญญัติในมาตรา 12 13 และ 14 ที่เป็นการเขียนกฎหมายในลักษณะละเมิดสิทธิของกรรมการตุลาการศาลปกครองที่อยู่ในตำแหน่งอีก 7 คน ซึ่งจะสิ้นสุดวาระในเดือนเมษายนปี 2558 ให้สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด ไม่เห็นว่าควรมีการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้ก่อน
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันถึงความจำเป็นในการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมีความสมบูรณ์
ล่าสุดที่ประชุมฯ ลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครองด้วยคะแนน 130 ต่อ 5 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง พร้อมตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา 17 คน กำหนดกรอบการทำงาน 60 วัน
ทั้งนี้ สมาชิก สนช.อภิปรายตั้งข้อสังเกตถึงสถานะของกรรมการตุลาการศาลปกครอง หลังจากรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดไปว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ เพราะไม่เห็นด้วยกับบทบัญญัติในมาตรา 12 13 และ 14 ที่เป็นการเขียนกฎหมายในลักษณะละเมิดสิทธิของกรรมการตุลาการศาลปกครองที่อยู่ในตำแหน่งอีก 7 คน ซึ่งจะสิ้นสุดวาระในเดือนเมษายนปี 2558 ให้สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด ไม่เห็นว่าควรมีการทำประชาพิจารณ์ในเรื่องนี้ก่อน
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยืนยันถึงความจำเป็นในการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมีความสมบูรณ์
ล่าสุดที่ประชุมฯ ลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครองด้วยคะแนน 130 ต่อ 5 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง พร้อมตั้งกรรมการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา 17 คน กำหนดกรอบการทำงาน 60 วัน