พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ดูแลงานจราจร กล่าวภายหลังการหารือกับบริษัท กสท.โทรคมนาคมจำกัดว่า ตามที่ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีนโยบายให้ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีเพื่องานจราจร และงานสายตรวจ 191 ให้มีความทันสมัย เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดภาระเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดั้งนั้นทาง บช.น.จึงมีแนวคิดที่จะให้ กสท.เข้ามาดำเนินการในส่วนของการติดตั้งกล้องวงจรปิดตามทางแยกต่างๆ ทั้งหมด 300 ทางแยก 1,500 กล้องทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยวิธีการจะเป็นการเช่า กล้อง การบำรุงรักษาอุปกรณ์กับทาง กสท. และระบบเชื่อมโยงข้อมูลในระยะ 3-5 ปี คาดว่าจะใช้งบประมาณในการจัดทำระบบดังกล่าวประมาณ 100 ล้านบาท
ทั้งนี้สำหรับระบบการทำงานของกล้องวงจรปิดตามทางแยกนั้นจะทำงานเป็น 2 ระบบ 1.การควบคุมส่วนหน้าจะมีการบันทึกภาพ และส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) 2.ระบบการรับข้อมูลของกล้องจะสามารถบันทึกได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบได้แม่นย้ำกว่าระบบเดิมที่เคยใช้ เพราะกล้องวงจรปิดรุ่นที่ กสท.จะนำมาใช้นั้นเป็นการตรวจวัดแบบระบบเรดาร์
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานกล้องได้ประมาณปี 2558 เพราะจะต้องมีการนำเรื่องดังกล่าวเสนอ พล.ต.อ.วัชรพล เพื่อหางบประมาณมาดำเนินการต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับจุดประสงค์ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากต้องการจะลดการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน ใช้ควบคุมความประพฤติ และบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน รวมทั้งจะเป็นการสังเกตสภาพปัญหาจราจรได้ด้วย
ทั้งนี้ที่ผ่านมายังมีปัญหา เพราะทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องไปดึงข้อมูลมาจากหน่วยงานอื่น ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบ แต่หากเป็นระบบใหม่เมื่อมีการบันทึกจะมีการส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุม และเจ้าหน้าที่จะส่งใบสั่งไปยังบ้านผู้กระทำความผิดโดยไม่ต้องเขียนใบสั่ง เพราะจะเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถไปจ่ายค่าปรับผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส และทางธนาคาร ซึ่งตนได้มีการเตรียมระบบไว้เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้สำหรับระบบการทำงานของกล้องวงจรปิดตามทางแยกนั้นจะทำงานเป็น 2 ระบบ 1.การควบคุมส่วนหน้าจะมีการบันทึกภาพ และส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) 2.ระบบการรับข้อมูลของกล้องจะสามารถบันทึกได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบได้แม่นย้ำกว่าระบบเดิมที่เคยใช้ เพราะกล้องวงจรปิดรุ่นที่ กสท.จะนำมาใช้นั้นเป็นการตรวจวัดแบบระบบเรดาร์
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานกล้องได้ประมาณปี 2558 เพราะจะต้องมีการนำเรื่องดังกล่าวเสนอ พล.ต.อ.วัชรพล เพื่อหางบประมาณมาดำเนินการต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับจุดประสงค์ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากต้องการจะลดการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน ใช้ควบคุมความประพฤติ และบังคับใช้กฎหมายกับประชาชน รวมทั้งจะเป็นการสังเกตสภาพปัญหาจราจรได้ด้วย
ทั้งนี้ที่ผ่านมายังมีปัญหา เพราะทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องไปดึงข้อมูลมาจากหน่วยงานอื่น ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าในการตรวจสอบ แต่หากเป็นระบบใหม่เมื่อมีการบันทึกจะมีการส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุม และเจ้าหน้าที่จะส่งใบสั่งไปยังบ้านผู้กระทำความผิดโดยไม่ต้องเขียนใบสั่ง เพราะจะเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถไปจ่ายค่าปรับผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส และทางธนาคาร ซึ่งตนได้มีการเตรียมระบบไว้เรียบร้อยแล้ว