ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีมติเป็นเอกฉันท์ 7:0 ให้คงอัตรานโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ในการประชุมครั้งที่ 6/2557 ในวันพุธที่ 17 กันยายนที่จะถึงนี้ เป้าหลักเพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่รายงานออกมาตั้งแต่การประชุม กนง. ครั้งก่อนเมื่อ 6 สิงหาคม นับว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น จีดีพีไตรมาสสอง ตามรายงานของสภาพัฒน์ฯ พลิกกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากที่ไตรมาสแรกของปีหดตัวไปร้อยละ 0.5 (ตัวเลขปรับปรุง) ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ภายหลังการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มไต่ระดับกลับมา พร้อมกับการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มฟื้นตัวกลับมาในหมวดสินค้าไม่คงทน เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค
ทางด้านภาคต่างประเทศยังคงได้รับอานิสงส์ต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอียู แต่การขยายตัวของภาคส่งออกไทยก็ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ ซ้ำยังถูกกดดันโดยราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและยางพารา ทำให้แนวโน้มยังดูไม่สดใสนัก เป็นไปในทิศทางเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ถึงแม้จะปรับตัวดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการเมืองภายในที่มีเสถียรภาพมากขึ้น และการย่างเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตบเท้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็ยังนับว่าเทียบไม่ติดกับปี 2556
ด้วยภาพเศรษฐกิจของไทยที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็ยังดูเปราะบาง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี จึงคงมุมมองว่า กนง. จะยังคงระดับนโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายไปจนถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย เพื่อรักษาโมเมนตัมของการฟื้นตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้กดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของนโยบายแต่อย่างใด โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของราคาอาหารสดและพลังงาน) ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์อยู่ที่ร้อยละ 1.83 ในเดือนสิงหาคม ปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 1.81 ในเดือนก่อนหน้า จึงนับว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ใกล้ค่ากึ่งกลางของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในช่วงร้อยละ 0.5-3.0 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้
หากกลับมาพิจารณาผลการประชุม กนง. ครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 กันยายน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีประเมินว่าคณะกรรมการทุกท่านจะเลือกโหวตให้คงดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.00 เพราะระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันนับว่าเหมาะสมแล้วที่จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทย โดยจะเห็นว่า กนง. ประกาศคงดอกเบี้ย ตั้งแต่การประชุมเดือนเมษายน (หลังจากที่มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ไปในการประชุมเดือนมีนาคม) และในการประชุมสองครั้งล่าสุด กนง. ก็มีเสียงโหวตเป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยไว้ หลังจากปัญหาการเมืองผ่อนคลาย และภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังเป็นไปตามคาดการณ์
ดังที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีได้ประเมินไว้ก่อนหน้า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00 เป็นระดับที่ต่ำที่สุดแล้วในวัฏจักรดอกเบี้ยนี้ และแนวโน้มดอกเบี้ยของไทยจะกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในปี 2558 สอดคล้องกับสภาพคล่องของโลกที่จะตึงตัวขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางปีหน้า ทว่าการคาดเดาห้วงเวลาที่แน่นอนที่ กนง. จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะมีปัจจัยเศรษฐกิจหลายตัวที่คณะกรรมการใช้ร่วมกันในการตัดสินใจนโยบาย หากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง และเร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เราอาจได้เห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังปี 2558 แต่ที่แน่ๆ เมื่อเวลาของดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้มาถึง เราน่าจะได้เห็น กนง. เริ่มเสียงแตกอีกครั้ง
ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่รายงานออกมาตั้งแต่การประชุม กนง. ครั้งก่อนเมื่อ 6 สิงหาคม นับว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น จีดีพีไตรมาสสอง ตามรายงานของสภาพัฒน์ฯ พลิกกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากที่ไตรมาสแรกของปีหดตัวไปร้อยละ 0.5 (ตัวเลขปรับปรุง) ส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ภายหลังการเข้ามาบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มไต่ระดับกลับมา พร้อมกับการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มฟื้นตัวกลับมาในหมวดสินค้าไม่คงทน เช่น เครื่องอุปโภคบริโภค
ทางด้านภาคต่างประเทศยังคงได้รับอานิสงส์ต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอียู แต่การขยายตัวของภาคส่งออกไทยก็ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ ซ้ำยังถูกกดดันโดยราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและยางพารา ทำให้แนวโน้มยังดูไม่สดใสนัก เป็นไปในทิศทางเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ถึงแม้จะปรับตัวดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการเมืองภายในที่มีเสถียรภาพมากขึ้น และการย่างเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยว แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตบเท้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็ยังนับว่าเทียบไม่ติดกับปี 2556
ด้วยภาพเศรษฐกิจของไทยที่แม้จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็ยังดูเปราะบาง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี จึงคงมุมมองว่า กนง. จะยังคงระดับนโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายไปจนถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย เพื่อรักษาโมเมนตัมของการฟื้นตัว ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้กดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางของนโยบายแต่อย่างใด โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของราคาอาหารสดและพลังงาน) ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์อยู่ที่ร้อยละ 1.83 ในเดือนสิงหาคม ปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 1.81 ในเดือนก่อนหน้า จึงนับว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ใกล้ค่ากึ่งกลางของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในช่วงร้อยละ 0.5-3.0 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้
หากกลับมาพิจารณาผลการประชุม กนง. ครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 กันยายน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีประเมินว่าคณะกรรมการทุกท่านจะเลือกโหวตให้คงดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 2.00 เพราะระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันนับว่าเหมาะสมแล้วที่จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทย โดยจะเห็นว่า กนง. ประกาศคงดอกเบี้ย ตั้งแต่การประชุมเดือนเมษายน (หลังจากที่มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ไปในการประชุมเดือนมีนาคม) และในการประชุมสองครั้งล่าสุด กนง. ก็มีเสียงโหวตเป็นเอกฉันท์ให้คงดอกเบี้ยไว้ หลังจากปัญหาการเมืองผ่อนคลาย และภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังเป็นไปตามคาดการณ์
ดังที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีได้ประเมินไว้ก่อนหน้า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.00 เป็นระดับที่ต่ำที่สุดแล้วในวัฏจักรดอกเบี้ยนี้ และแนวโน้มดอกเบี้ยของไทยจะกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในปี 2558 สอดคล้องกับสภาพคล่องของโลกที่จะตึงตัวขึ้นตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางปีหน้า ทว่าการคาดเดาห้วงเวลาที่แน่นอนที่ กนง. จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะมีปัจจัยเศรษฐกิจหลายตัวที่คณะกรรมการใช้ร่วมกันในการตัดสินใจนโยบาย หากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง และเร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปีนี้ เราอาจได้เห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังปี 2558 แต่ที่แน่ๆ เมื่อเวลาของดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้มาถึง เราน่าจะได้เห็น กนง. เริ่มเสียงแตกอีกครั้ง