ดูไบ กลับมาเดินหน้าโครงการอันทะเยอทะยาน พัฒนาสนามบินแห่งที่สองของประเทศอีกครั้ง ที่แต่เดิมเคยคุยโวว่ามันจะกลายเป็นท่าอากาศยานใหญ่ที่สุดในโลก และสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 120 ล้านคนต่อปี
พอล กริฟฟิธส์ ผู้อำนายการสนามบินดูไบ บอกกับเอเอฟพีวันนี้ (8) ว่าโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ขยายสนามบินนานาชาติอัล- มักตุมภายในระยะเวลา 8 ปี เพื่อรองรับการโยกย้ายปฏิบัติการต่างๆที่กำลังขยายตัวของสายการบิน เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ส มาจากท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ
ชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มัคตุม เจ้าผู้ปกครองนครดูไบให้การอนุมัติโครงการต่อขยายมูลค่า 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 9.5 แสนล้านบาท) นี้ โดยมีกรอบเวลาให้สร้างเสร็จภายใน 6 - 8 ปี
สนามบินนานาชาติอัล-มักตุมเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนที่วิกฤตการเงินโลกจะเล่นงานดูไบเมื่อปี 2009 พร้อมกับมีแผนต่อขยายให้มันกลายเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรองรับผู้โดยสารได้ 160 ล้านคน และมี 6 รันเวย์
ดูเหมือนว่าแผนการนี้จะถูกพับเก็บไปชั่วคราวเพราะวิกฤตการเงินครั้งนั้น และทางสนามบินได้หันมาเปิดปฏิบัติการด้านขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวในปี 2010 ขณะที่ปฏิบัติการด้านเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กก็เพิ่งจะเริ่มต้นได้เมื่อเดือนตุลาคมปี 2013 หลังจากเลื่อนเปิดบริการมาครั้งแล้วครั้งเล่า
พอล กริฟฟิธส์ ผู้อำนายการสนามบินดูไบ บอกกับเอเอฟพีวันนี้ (8) ว่าโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ขยายสนามบินนานาชาติอัล- มักตุมภายในระยะเวลา 8 ปี เพื่อรองรับการโยกย้ายปฏิบัติการต่างๆที่กำลังขยายตัวของสายการบิน เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ส มาจากท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ
ชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มัคตุม เจ้าผู้ปกครองนครดูไบให้การอนุมัติโครงการต่อขยายมูลค่า 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 9.5 แสนล้านบาท) นี้ โดยมีกรอบเวลาให้สร้างเสร็จภายใน 6 - 8 ปี
สนามบินนานาชาติอัล-มักตุมเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนที่วิกฤตการเงินโลกจะเล่นงานดูไบเมื่อปี 2009 พร้อมกับมีแผนต่อขยายให้มันกลายเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรองรับผู้โดยสารได้ 160 ล้านคน และมี 6 รันเวย์
ดูเหมือนว่าแผนการนี้จะถูกพับเก็บไปชั่วคราวเพราะวิกฤตการเงินครั้งนั้น และทางสนามบินได้หันมาเปิดปฏิบัติการด้านขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวในปี 2010 ขณะที่ปฏิบัติการด้านเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กก็เพิ่งจะเริ่มต้นได้เมื่อเดือนตุลาคมปี 2013 หลังจากเลื่อนเปิดบริการมาครั้งแล้วครั้งเล่า