นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ทวีตข้อความผ่าน @supinya ว่า ปมเรื่องช่อง 3 สิ้นสุดการเป็นฟรีทีวีที่ให้บริการทั่วไปตามกฏ Must Carry กำลังจะซับซ้อนขึ้นอีก เมื่อกีฬา AsianGames อยู่ในกฏ MustHave ด้วย
โดยในวันจันทร์นี้ (8 กันยายน 2557) บอร์ด กสท.มีวาระถกเรื่องการขอถ่ายทอดกีฬา Asian Games ของทีวีรวมการเฉพาะกิจ(ทีวีพูล) ให้ช่อง 3 แอนาล็อกคู่ขนานทีวีดิจิตอล
ก่อนหน้านี้ หลังจากเมื่อวันที่ 5 ก.ย. คณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ไม่สามารถประชุมกรณีการออกอากาศระบบอนาล็อกของช่อง 3 ได้เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุมจากการที่เหลือคณะกรรมการอยู่เพียง3คน อย่างไรก็ตาม กสท. ทั้ง3 คน ได้เปิดแถลงจุดยืนกับสื่อมวลชน
ขณะที่ช่วงบ่ายของวันที่6 ก.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท.ทวีตข้อความผ่าน @DrNateeDigital ข้อความว่า ตามที่ได้มีการเสนอข่าวสารผ่านสื่อมวลชนว่า การประชุม กสท. นัดพิเศษ เมื่อ 5 ก.ย. 57 ล่ม สาเหตุเนื่องจากผมไม่เข้าร่วมประชุม
ผมขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ไม่มีการกำหนดให้มีการประชุม กสท. นัดพิเศษ เมื่อ 5 ก.ย.57 ตั้งแต่ต้น จึงไม่มีการประชุม กสท. ล่ม
สาเหตุสำคัญเกิดจากมีการร้องขอจาก กสท. บางท่าน เพื่อให้มีการหารือนอกรอบของคณะกรรมการ กสท. ในวันเวลาดังกล่าวซึ่งผมก็ได้เชิญ กสท. ให้มีการพูดคุย หารือนอกรอบ ใน 5 กันยายน 2557 เวลา 16.00 น.ที่ห้องทำงานของประธาน กสท.
การดำเนินการมิได้มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ต่างจากการกำหนดการประชุม กสท. ซึ่งต้องดำเนินการตามระเบียบ ต้องแจ้งกำหนดการล่วงหน้า มีการกำหนดประเด็น หัวข้อ ในลักษณะของการประชุม กสท. เพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม
เรื่องที่จะทำการพูดคุย หารือนอกรอบ ก็เป็นเรื่องที่มีการบรรจุในวาระการประชุมปกติ กสท. ในวันจันทร์ที่ 8 ก.ย. 57 อยู่แล้ว 8
นอกจากนี้ กสท. เพิ่งเชิญผู้ประกอบการช่องดิจิตอลมารับฟังความคิดเห็นเมื่อ 3 ก.ย. โดยสรุปให้ช่อง 3 ยื่นข้อเสนอต่อ กสท. ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะเร่งรวบรัด ประชุม กสท. นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาดำเนินการในกรณีนี้ในทันที โดยยังไม่มีข้อเสนอดังกล่าว
การนัดหารือ ดังกล่าว จึงมิได้ถือว่าเป็นการนัดประชุม กสท. ส่วนที่มี กสท. บางท่านได้ส่งข้อความผ่าน Social Media... ว่าวันเวลาดังกล่าวเป็นการประชุม กสท. นัดพิเศษ จึงถือเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของกรรมการท่านนั้นเป็นการส่วนตัว
ในขณะเดียวกัน ได้มีการแอบอ้างชื่อผม แจ้งสื่อมวลชนว่ามีการประชุม กสท. นัดพิเศษ พร้อมทั้งนัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ผมได้ตรวจสอบจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำให้ทราบว่าเป็นการดำเนินการโดย กสท. และผู้บริหาร สนง.กสทช. บางท่าน
ผมได้แจ้งทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ สนง.กสทช. โดยทันที ถึงข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่มีการแก้ไขข่าวสารให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด ผมคิดว่าการดำเนินการดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่รวบรัด และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อสื่อมวลชน และสังคม อันอาจก่อให้เกิดประเด็นข้อกฎหมายในภายหลัง ได้ว่า กสท. มีเจตนาจัดประชุมเพื่อวัตถุประสงค์แอบแฝงบางประการ
ดังนั้น ในฐานะประธาน กสท. ผมจึงไม่เข้าร่วมหารือนอกรอบ โดยได้มีการแจ้งต่อ สนง. เพื่อให้แจ้ง กสท. ทุกท่านล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อสื่อมวลชนและสังคม และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ กสท. โดยรวม
จากนั้นเมื่อประมาณ 19.45 น. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว "@supinya" ข้อความดังนี้
เพิ่งกลับถึงบ้านและได้อ่านทวิตของท่านประธาน กสท. แบบละเอียด คิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
วันอังคาร (2 ก.ย.) ที่ผ่านมาเรามีการนัดประชุมวาระพิเศษโดยไม่มีเอกสารที่ห้องท่านประธาน(พ.อ.นที) เช่นเดียวกับวันพุธ (3 ก.ย.)ที่มีการเรียกประชุมแบบกะทันหันทั้งที่มีกรรมการ กสท เข้าร่วมประชุมแค่3คน
การประชุม กสท. วันศุกร์ (5 ก.ย.) เวลา 4 โมงเย็น เป็นนัดด่วนเหมือนวันพุธบ่ายโมง ก่อนหารือกับตัวแทนช่อง 3+24 ช่อง ดังนั้น การนัดแบบวันศุกร์ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก การประชุมนัดพิเศษวันอังคารและวันพุธที่ผ่านมา เป็นการประชุมด่วนที่ไม่มีการส่งวาระล่วงหน้า แต่มีผลเป็นมติทางการที่ กสท.รับรองรายงานการประชุม
การประชุมวันอังคาร (2 ก.ย.) นัดพิเศษที่ผ่านมามีกรรมการ กสท.เข้า4คน ส่วนวันพุธ (3 ก.ย.) ที่นัดด่วนมากเช่นกันมีกรรมการ กสท.เข้า3คน ขณะที่วันศุกร์(5 ก.ย.) ตอนแรกนัดได้ทั้ง5คนรับทราบ
ทั้งนี้ การประชุมนัดปกติต้องมีการส่งวาระเป็นเอกสารล่วงหน้า แต่การประชุมแบบเร่งด่วน ไม่ต้องมีเอกสารก่อน แต่จากนั้นต้องรับรองมติและรายงานการประชุม และมติจากการประชุมนัดพิเศษเมื่อวันอังคารที่ห้องท่านประธาน กับมติประชุมด่วนวันพุธ ซึ่งไม่มีเอกสารส่งก่อนทั้งคู่ และกรรมการ กสท. อยู่ไม่ครบ5 จะรับรองวันจันทร์ ที่ 8 ก.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงหนึ่งตรงกันคือ การนัดประชุมเมื่อวันศุกร์เป็นความเห็นร่วมและริเริ่มโดย กสท.อย่างน้อย 3 คนที่เสนอไปยังประธาน และประธานนัด 4 โมงเย็น และดิฉันเคารพการตัดสินใจของท่านประธาน กสท.ที่ไม่อยู่ร่วมประชุม (หรือที่ท่านยืนยันว่าเป็นการหารือนอกรอบ)
ด้วยเหตุผลที่ท่านทวีตมา เพียงแต่ยืนยันว่าที่ กสท.3 คนเสนอให้มีการประชุมเมื่อวันศุกร์ เพราะเราเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน อยู่ภายใต้แรงกดดันจากสังคม ที่เราไม่ควรเพิกเฉย เพราะดิฉันได้รับคำเตือนจากที่ปรึกษากฏหมายว่าถ้า กสท. ไม่เร่งลงมติให้เกิดความชัดเจน เราอาจโดนแจ้งข้อหาอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนการประชุม กสท.นัดปกติ ในวันจันทร์ที่8 ก.ย.นี้ ในวาระมีเรื่องช่อง3 แต่สำนักงานยังไม่เสนอแนวทางมาตรการทางปกครองมาเลย ทำไม
เดาว่า สนง. อาจทำเป็นเอกสารประกอบการประชุมเพิ่มเติมว่าด้วยแนวทางมาตรการทางปกครอง ต่างๆ มาแนบให้บอร์ดเช้าวันจันทร์เลย ขอให้เป็นเช่นนั้น วันจันทร์ที่ 8 กันยายนนี้ ไม่ว่ามติจะออกมาอย่างไร ดิฉันอาจเป็นเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างน้อยก็ตาม แต่ขอให้ กสท. มีมติชัดเจน อย่ายืดเยื้ออีก เมื่อ 100 กว่าวันก่อน เรามีมติให้ผ่อนผันกฎกติกานี้ไปแล้ว มีเวลาเหลือเฟือในการแก้ปัญหาและเจรจา ถ้ามันไม่มีทางออกอื่นแล้วก็ขอให้ยึดกฎกติกา ปกติดิฉันไม่อยากจะอ้าง คสช. @armypr_news เพราะขัดจุดยืนส่วนตัวทางการเมือง แต่เมื่อคืนท่านหัวหน้า คสช.ย้ำให้เราเร่งแก้ปัญหา+ยึดกฎ+ปย.ปชช.
ยอมนับว่าวันนี้ใน กสท./กสทช.มองต่างมุมกัน แต่ดิฉันเชื่อว่าเรายังมีเป้าหมายตรงกันในเรื่องทีวีดิจิตอล เพราะมันคือพันธกิจร่วมที่ทำงานมาด้วยกัน เราทำงานหนักในช่วงเวลา 2-3 ปี ผลักดันทีวีดิจิตอลในระบบใบอนุญาตเต็มรูปแบบ ผ่านความขัดแย้งทั้งรักทั้งชังมานับครั้งไม่ถ้วน ถึงงานนี้ต้องตัดสินใจ ไม่ว่าไปทางไหนเราก็เจอแรงกดดันจนอาจตกงานได้ ทั้งปล่อยยืดเยื้อหรือปล่อยจอดำ ดังนั้นเราควรเลือกทางเดินที่สอดคล้องหลักการที่เราวางกติกามาเอง ทำงานใหญ่ย่อมเสี่ยง แต่การเสี่ยงของเรามีชอบธรรม (Ligitimacy) อยู่บนฐานของความเป็นธรรม (Fairness)ในฐานะคนกลางกำกับ (Regulator) ตามกติการ่วม การใช้อำนาจของ กสท./กสทช.ไม่ได้ที่สุด สุดท้ายคือกระบวนการยุติธรรม ถ้าคู่กรณีเห็นว่าการใช้อำนาจนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เราต้องทำหน้าที่ก่อน
โดยในวันจันทร์นี้ (8 กันยายน 2557) บอร์ด กสท.มีวาระถกเรื่องการขอถ่ายทอดกีฬา Asian Games ของทีวีรวมการเฉพาะกิจ(ทีวีพูล) ให้ช่อง 3 แอนาล็อกคู่ขนานทีวีดิจิตอล
ก่อนหน้านี้ หลังจากเมื่อวันที่ 5 ก.ย. คณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)ไม่สามารถประชุมกรณีการออกอากาศระบบอนาล็อกของช่อง 3 ได้เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุมจากการที่เหลือคณะกรรมการอยู่เพียง3คน อย่างไรก็ตาม กสท. ทั้ง3 คน ได้เปิดแถลงจุดยืนกับสื่อมวลชน
ขณะที่ช่วงบ่ายของวันที่6 ก.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธาน กสท.ทวีตข้อความผ่าน @DrNateeDigital ข้อความว่า ตามที่ได้มีการเสนอข่าวสารผ่านสื่อมวลชนว่า การประชุม กสท. นัดพิเศษ เมื่อ 5 ก.ย. 57 ล่ม สาเหตุเนื่องจากผมไม่เข้าร่วมประชุม
ผมขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ไม่มีการกำหนดให้มีการประชุม กสท. นัดพิเศษ เมื่อ 5 ก.ย.57 ตั้งแต่ต้น จึงไม่มีการประชุม กสท. ล่ม
สาเหตุสำคัญเกิดจากมีการร้องขอจาก กสท. บางท่าน เพื่อให้มีการหารือนอกรอบของคณะกรรมการ กสท. ในวันเวลาดังกล่าวซึ่งผมก็ได้เชิญ กสท. ให้มีการพูดคุย หารือนอกรอบ ใน 5 กันยายน 2557 เวลา 16.00 น.ที่ห้องทำงานของประธาน กสท.
การดำเนินการมิได้มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ต่างจากการกำหนดการประชุม กสท. ซึ่งต้องดำเนินการตามระเบียบ ต้องแจ้งกำหนดการล่วงหน้า มีการกำหนดประเด็น หัวข้อ ในลักษณะของการประชุม กสท. เพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม
เรื่องที่จะทำการพูดคุย หารือนอกรอบ ก็เป็นเรื่องที่มีการบรรจุในวาระการประชุมปกติ กสท. ในวันจันทร์ที่ 8 ก.ย. 57 อยู่แล้ว 8
นอกจากนี้ กสท. เพิ่งเชิญผู้ประกอบการช่องดิจิตอลมารับฟังความคิดเห็นเมื่อ 3 ก.ย. โดยสรุปให้ช่อง 3 ยื่นข้อเสนอต่อ กสท. ดังนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะเร่งรวบรัด ประชุม กสท. นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาดำเนินการในกรณีนี้ในทันที โดยยังไม่มีข้อเสนอดังกล่าว
การนัดหารือ ดังกล่าว จึงมิได้ถือว่าเป็นการนัดประชุม กสท. ส่วนที่มี กสท. บางท่านได้ส่งข้อความผ่าน Social Media... ว่าวันเวลาดังกล่าวเป็นการประชุม กสท. นัดพิเศษ จึงถือเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนของกรรมการท่านนั้นเป็นการส่วนตัว
ในขณะเดียวกัน ได้มีการแอบอ้างชื่อผม แจ้งสื่อมวลชนว่ามีการประชุม กสท. นัดพิเศษ พร้อมทั้งนัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ผมได้ตรวจสอบจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำให้ทราบว่าเป็นการดำเนินการโดย กสท. และผู้บริหาร สนง.กสทช. บางท่าน
ผมได้แจ้งทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ สนง.กสทช. โดยทันที ถึงข้อเท็จจริง แต่ก็ไม่มีการแก้ไขข่าวสารให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด ผมคิดว่าการดำเนินการดังกล่าวมีพฤติการณ์ที่รวบรัด และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อสื่อมวลชน และสังคม อันอาจก่อให้เกิดประเด็นข้อกฎหมายในภายหลัง ได้ว่า กสท. มีเจตนาจัดประชุมเพื่อวัตถุประสงค์แอบแฝงบางประการ
ดังนั้น ในฐานะประธาน กสท. ผมจึงไม่เข้าร่วมหารือนอกรอบ โดยได้มีการแจ้งต่อ สนง. เพื่อให้แจ้ง กสท. ทุกท่านล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อสื่อมวลชนและสังคม และเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ กสท. โดยรวม
จากนั้นเมื่อประมาณ 19.45 น. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว "@supinya" ข้อความดังนี้
เพิ่งกลับถึงบ้านและได้อ่านทวิตของท่านประธาน กสท. แบบละเอียด คิดว่ามีข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
วันอังคาร (2 ก.ย.) ที่ผ่านมาเรามีการนัดประชุมวาระพิเศษโดยไม่มีเอกสารที่ห้องท่านประธาน(พ.อ.นที) เช่นเดียวกับวันพุธ (3 ก.ย.)ที่มีการเรียกประชุมแบบกะทันหันทั้งที่มีกรรมการ กสท เข้าร่วมประชุมแค่3คน
การประชุม กสท. วันศุกร์ (5 ก.ย.) เวลา 4 โมงเย็น เป็นนัดด่วนเหมือนวันพุธบ่ายโมง ก่อนหารือกับตัวแทนช่อง 3+24 ช่อง ดังนั้น การนัดแบบวันศุกร์ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก การประชุมนัดพิเศษวันอังคารและวันพุธที่ผ่านมา เป็นการประชุมด่วนที่ไม่มีการส่งวาระล่วงหน้า แต่มีผลเป็นมติทางการที่ กสท.รับรองรายงานการประชุม
การประชุมวันอังคาร (2 ก.ย.) นัดพิเศษที่ผ่านมามีกรรมการ กสท.เข้า4คน ส่วนวันพุธ (3 ก.ย.) ที่นัดด่วนมากเช่นกันมีกรรมการ กสท.เข้า3คน ขณะที่วันศุกร์(5 ก.ย.) ตอนแรกนัดได้ทั้ง5คนรับทราบ
ทั้งนี้ การประชุมนัดปกติต้องมีการส่งวาระเป็นเอกสารล่วงหน้า แต่การประชุมแบบเร่งด่วน ไม่ต้องมีเอกสารก่อน แต่จากนั้นต้องรับรองมติและรายงานการประชุม และมติจากการประชุมนัดพิเศษเมื่อวันอังคารที่ห้องท่านประธาน กับมติประชุมด่วนวันพุธ ซึ่งไม่มีเอกสารส่งก่อนทั้งคู่ และกรรมการ กสท. อยู่ไม่ครบ5 จะรับรองวันจันทร์ ที่ 8 ก.ย.นี้
อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงหนึ่งตรงกันคือ การนัดประชุมเมื่อวันศุกร์เป็นความเห็นร่วมและริเริ่มโดย กสท.อย่างน้อย 3 คนที่เสนอไปยังประธาน และประธานนัด 4 โมงเย็น และดิฉันเคารพการตัดสินใจของท่านประธาน กสท.ที่ไม่อยู่ร่วมประชุม (หรือที่ท่านยืนยันว่าเป็นการหารือนอกรอบ)
ด้วยเหตุผลที่ท่านทวีตมา เพียงแต่ยืนยันว่าที่ กสท.3 คนเสนอให้มีการประชุมเมื่อวันศุกร์ เพราะเราเห็นว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน อยู่ภายใต้แรงกดดันจากสังคม ที่เราไม่ควรเพิกเฉย เพราะดิฉันได้รับคำเตือนจากที่ปรึกษากฏหมายว่าถ้า กสท. ไม่เร่งลงมติให้เกิดความชัดเจน เราอาจโดนแจ้งข้อหาอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนการประชุม กสท.นัดปกติ ในวันจันทร์ที่8 ก.ย.นี้ ในวาระมีเรื่องช่อง3 แต่สำนักงานยังไม่เสนอแนวทางมาตรการทางปกครองมาเลย ทำไม
เดาว่า สนง. อาจทำเป็นเอกสารประกอบการประชุมเพิ่มเติมว่าด้วยแนวทางมาตรการทางปกครอง ต่างๆ มาแนบให้บอร์ดเช้าวันจันทร์เลย ขอให้เป็นเช่นนั้น วันจันทร์ที่ 8 กันยายนนี้ ไม่ว่ามติจะออกมาอย่างไร ดิฉันอาจเป็นเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างน้อยก็ตาม แต่ขอให้ กสท. มีมติชัดเจน อย่ายืดเยื้ออีก เมื่อ 100 กว่าวันก่อน เรามีมติให้ผ่อนผันกฎกติกานี้ไปแล้ว มีเวลาเหลือเฟือในการแก้ปัญหาและเจรจา ถ้ามันไม่มีทางออกอื่นแล้วก็ขอให้ยึดกฎกติกา ปกติดิฉันไม่อยากจะอ้าง คสช. @armypr_news เพราะขัดจุดยืนส่วนตัวทางการเมือง แต่เมื่อคืนท่านหัวหน้า คสช.ย้ำให้เราเร่งแก้ปัญหา+ยึดกฎ+ปย.ปชช.
ยอมนับว่าวันนี้ใน กสท./กสทช.มองต่างมุมกัน แต่ดิฉันเชื่อว่าเรายังมีเป้าหมายตรงกันในเรื่องทีวีดิจิตอล เพราะมันคือพันธกิจร่วมที่ทำงานมาด้วยกัน เราทำงานหนักในช่วงเวลา 2-3 ปี ผลักดันทีวีดิจิตอลในระบบใบอนุญาตเต็มรูปแบบ ผ่านความขัดแย้งทั้งรักทั้งชังมานับครั้งไม่ถ้วน ถึงงานนี้ต้องตัดสินใจ ไม่ว่าไปทางไหนเราก็เจอแรงกดดันจนอาจตกงานได้ ทั้งปล่อยยืดเยื้อหรือปล่อยจอดำ ดังนั้นเราควรเลือกทางเดินที่สอดคล้องหลักการที่เราวางกติกามาเอง ทำงานใหญ่ย่อมเสี่ยง แต่การเสี่ยงของเรามีชอบธรรม (Ligitimacy) อยู่บนฐานของความเป็นธรรม (Fairness)ในฐานะคนกลางกำกับ (Regulator) ตามกติการ่วม การใช้อำนาจของ กสท./กสทช.ไม่ได้ที่สุด สุดท้ายคือกระบวนการยุติธรรม ถ้าคู่กรณีเห็นว่าการใช้อำนาจนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เราต้องทำหน้าที่ก่อน