องค์การอนามัยโลก (ฮู) เปิดประชุมในวันนี้ (4 ก.ย.) เพื่อหารือแนวทางและตัวยาในการรักษาโรคอีโบลา ซึ่งขณะนี้มีเหยื่อสังเวยชีวิตแล้วกว่า 1,900 ราย โดยผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่งเสนอวิธีที่แหวกแนวแต่ไม่ซับซ้อน ด้วยการนำเลือดของผู้รอดชีวิตมาต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายนี้ ในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือตัวยารักษาที่ผ่านการทดสอบยืนยันแล้ว
แม้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้แอนติบอดี้ที่สกัดจากโลหิตของผู้รอดชีวิตจากไวรัสอีโบลา ทว่า การที่โลกยังไม่มียาหรือวัคซีนที่ได้รับการรับรองว่า สามารถใช้กับอีโบลาได้ ทำให้ทางเลือกใหม่นี้คุ้มค่าต่อการทดลอง
ดร.ปีเตอร์ ไพอ็อต ผู้อำนวยการสถาบัน ลอนดอน สกูล ออฟ ไฮยีน แอนด์ ทรอปิคัล เมดิซิน และผู้ร่วมค้นพบไวรัสอีโบลา ขานรับว่า วิธีการดังกล่าวนี้ยังทำได้ง่ายๆ
การใช้เลือดของผู้รอดชีวิตนี้ ถือเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาอีโบลาที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง โดยที่แนวทางทั้งหลายเหล่านี้ จะได้มีการหยิบยกขึ้นหารือกัน ในการประชุมที่องค์การอนามัยโลก (ฮู) ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่นครเจนีวา เริ่มต้นตั้งแต่วันพฤหัสบดี (4) โดยมีผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 คนปิดห้องร่วมกันถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการรักษาและตัวยาต่างๆ ที่ควรเร่งรัดทดลองและผลิต ระหว่างที่ไวรัสนี้กำลังระบาดรุนแรงในแอฟริกาตะวันตก
ทั้งนี้ ฮูระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอีโบลารวมแล้วกว่า 1,900 รายในแอฟริกาตะวันตก โดย 40% ของจำนวนนี้เสียชีวิตในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายจนถึงวันที่ 3 กันยายนนี้ สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันหรือสงสัยติดเชื้อมีทั้งสิ้นราว 3,500 คน ในกินี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย
ฮูยังเตือนว่า อาจมีผู้ติดเชื้อกว่า 20,000 คนก่อนที่โลกจะหาวิธีควบคุมการระบาดของอีโบลาได้ และอาจต้องใช้งบประมาณเพื่อการนี้อย่างน้อย 600 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน มีการพัฒนายาและวัคซีนไม่ถึง 10 ตัว แต่ไม่มีตัวใดที่เคยทดลองกับคน ยกเว้นวัคซีนตัวหนึ่งที่เพิ่งเริ่มทดสอบเบื้องต้นในสัปดาห์นี้ที่อเมริกา
แม้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้แอนติบอดี้ที่สกัดจากโลหิตของผู้รอดชีวิตจากไวรัสอีโบลา ทว่า การที่โลกยังไม่มียาหรือวัคซีนที่ได้รับการรับรองว่า สามารถใช้กับอีโบลาได้ ทำให้ทางเลือกใหม่นี้คุ้มค่าต่อการทดลอง
ดร.ปีเตอร์ ไพอ็อต ผู้อำนวยการสถาบัน ลอนดอน สกูล ออฟ ไฮยีน แอนด์ ทรอปิคัล เมดิซิน และผู้ร่วมค้นพบไวรัสอีโบลา ขานรับว่า วิธีการดังกล่าวนี้ยังทำได้ง่ายๆ
การใช้เลือดของผู้รอดชีวิตนี้ ถือเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาอีโบลาที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง โดยที่แนวทางทั้งหลายเหล่านี้ จะได้มีการหยิบยกขึ้นหารือกัน ในการประชุมที่องค์การอนามัยโลก (ฮู) ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันที่นครเจนีวา เริ่มต้นตั้งแต่วันพฤหัสบดี (4) โดยมีผู้เชี่ยวชาญกว่า 200 คนปิดห้องร่วมกันถกเถียงอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการรักษาและตัวยาต่างๆ ที่ควรเร่งรัดทดลองและผลิต ระหว่างที่ไวรัสนี้กำลังระบาดรุนแรงในแอฟริกาตะวันตก
ทั้งนี้ ฮูระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอีโบลารวมแล้วกว่า 1,900 รายในแอฟริกาตะวันตก โดย 40% ของจำนวนนี้เสียชีวิตในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายจนถึงวันที่ 3 กันยายนนี้ สำหรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันหรือสงสัยติดเชื้อมีทั้งสิ้นราว 3,500 คน ในกินี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย
ฮูยังเตือนว่า อาจมีผู้ติดเชื้อกว่า 20,000 คนก่อนที่โลกจะหาวิธีควบคุมการระบาดของอีโบลาได้ และอาจต้องใช้งบประมาณเพื่อการนี้อย่างน้อย 600 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน มีการพัฒนายาและวัคซีนไม่ถึง 10 ตัว แต่ไม่มีตัวใดที่เคยทดลองกับคน ยกเว้นวัคซีนตัวหนึ่งที่เพิ่งเริ่มทดสอบเบื้องต้นในสัปดาห์นี้ที่อเมริกา