นางจิราวรรณ แย้มประยูร รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ-กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (Beef Board) ว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการ “ฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพ” โดยมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์โคเนื้อทั่วประเทศ จัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อสร้างอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อให้เป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยขอใช้งบประมาณจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในการจัดหาปัจจัยการผลิต ได้แก่ แม่โคเนื้อพันธุ์ดีให้เกษตรกรสมาชิกรายละ 5 ตัว โรงเรือน และการจัดการอาหารสัตว์ ผ่านการกู้ยืมเงินของสหกรณ์โคเนื้อที่เกษตรกรเป็นสมาชิก ในวงเงินกู้รายละไม่เกิน 250,000 บาท เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำปลอดการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรก ส่วนปีที่ 4- 7 จะชำระหนี้ร้อยละ 25 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
โดยมีเป้าหมายในการสร้างอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อแก่เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อ จำนวน 20,000 ราย มีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2564) ซึ่งในปีแรกจะนำร่องเกษตรกรเป้าหมาย 4,000 ราย เพิ่มแม่โคเนื้อพันธุ์ดี 20,000 ตัว หากการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะขออนุมัติคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรดำเนินการต่อไปจนครบ 20,000 ราย
นางจิราวรรณ กล่าวต่อไปว่า โครงการดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดภาระทางการเงินและการจ่ายค่าดอกเบี้ยของเกษตรกรในช่วงระยะเวลาที่โคเนื้อยังไม่ได้ให้ผลผลิตแล้ว ยังเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงในฟาร์มที่มีโรงเรือนขนาดพอดีกับจำนวนโค มีการจัดการอาหารเพียงพอกับความต้องการของโคแทนการเลี้ยงปล่อยแทะเล็มหญ้าทั่วไป ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากมูลโคได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอจากการใช้มูลโคผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานทดทาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรรายย่อยที่เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตโคเนื้อและสหกรณ์โคเนื้ออย่างยั่งยืน
โดยมีเป้าหมายในการสร้างอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อแก่เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์โคเนื้อ จำนวน 20,000 ราย มีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2564) ซึ่งในปีแรกจะนำร่องเกษตรกรเป้าหมาย 4,000 ราย เพิ่มแม่โคเนื้อพันธุ์ดี 20,000 ตัว หากการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะขออนุมัติคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรดำเนินการต่อไปจนครบ 20,000 ราย
นางจิราวรรณ กล่าวต่อไปว่า โครงการดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดภาระทางการเงินและการจ่ายค่าดอกเบี้ยของเกษตรกรในช่วงระยะเวลาที่โคเนื้อยังไม่ได้ให้ผลผลิตแล้ว ยังเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงในฟาร์มที่มีโรงเรือนขนาดพอดีกับจำนวนโค มีการจัดการอาหารเพียงพอกับความต้องการของโคแทนการเลี้ยงปล่อยแทะเล็มหญ้าทั่วไป ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากมูลโคได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอจากการใช้มูลโคผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานทดทาน สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรรายย่อยที่เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตโคเนื้อและสหกรณ์โคเนื้ออย่างยั่งยืน