บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(25-29ส.ค.)ดัชนี SET แกว่งตัวในกรอบแคบ ก่อนการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,561.63 จุด เพิ่มขึ้น 0.30% จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 3.26% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 44,996.87 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 637.93 จุด เพิ่มขึ้น 2.72% จากสัปดาห์ก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ หลังประธานเฟดส่งสัญญาณว่า จะไม่รีบเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนปรับลดลงในวันอังคารจากแรงขายทำกำไร จากนั้นดัชนีปรับเพิ่มขึ้นในวันพุธ จากมุมมองเชิงบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนวันพฤหัสบดี ดัชนีลดลง นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน จากความกังวลต่อแผนปรับโครงสร้างราคาพลังงานของ คสช. จากนั้น ตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ จากแรงซื้อเก็งกำไรก่อนการจัดตั้ง ครม. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (1-5 ก.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีน่าจะแกว่งตัวขาขึ้น โดยนอกจากตลาดจะติดตามการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีของไทยแล้ว ก็ยังมีโอกาสได้รับแรงส่งจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะหากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลภาคการผลิตและการจ้างงาน ยังบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ยังต้องติดตามได้แก่ สถานการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซีย ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป ตลอดจน การรายงานเครื่องชี้ภาคการผลิตของประเทศในยูโรโซนและจีน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นในวันจันทร์ หลังประธานเฟดส่งสัญญาณว่า จะไม่รีบเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนปรับลดลงในวันอังคารจากแรงขายทำกำไร จากนั้นดัชนีปรับเพิ่มขึ้นในวันพุธ จากมุมมองเชิงบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนวันพฤหัสบดี ดัชนีลดลง นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน จากความกังวลต่อแผนปรับโครงสร้างราคาพลังงานของ คสช. จากนั้น ตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ จากแรงซื้อเก็งกำไรก่อนการจัดตั้ง ครม. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (1-5 ก.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีน่าจะแกว่งตัวขาขึ้น โดยนอกจากตลาดจะติดตามการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีของไทยแล้ว ก็ยังมีโอกาสได้รับแรงส่งจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะหากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลภาคการผลิตและการจ้างงาน ยังบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ยังต้องติดตามได้แก่ สถานการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซีย ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป ตลอดจน การรายงานเครื่องชี้ภาคการผลิตของประเทศในยูโรโซนและจีน