วันนี้ (14 สิงหาคม 2557) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน หรือที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสมมานาน
ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจที่จะเร่งพิจารณามีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
โดยในส่วนของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีแผนจะเร่งเพิ่มรายได้ 3,000 ล้านบาท และลดรายจ่าย 4,000 ล้านบาท ให้ได้ภายในปี 57 ขณะที่เอสเอ็มอีแบงก์จะเสนอแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะเน้นลดเอ็นพีแอลจากร้อยละ 38 ในปัจจุบันเหลือร้อยละ 13-14 ภายในสิ้นปีนี้ โดยปัจจุบันมีเอ็นพีแอลอยู่ 34,000 ล้านบาท
ส่วนไอแบงก์ อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังในสิ้นเดือนนี้ ด้าน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เตรียมแผนปรับโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ให้มีความคล่องตัว เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึงทำการตลาดโทรศัพท์มือถือ 3 จี การขยายตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ขณะที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีแผนปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว มีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารธุรกิจ เช่น การให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม การให้บริการมือถือ เป็นต้น
ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูกิจการรัฐวิสาหกิจที่จะเร่งพิจารณามีทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
โดยในส่วนของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีแผนจะเร่งเพิ่มรายได้ 3,000 ล้านบาท และลดรายจ่าย 4,000 ล้านบาท ให้ได้ภายในปี 57 ขณะที่เอสเอ็มอีแบงก์จะเสนอแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ซึ่งจะเน้นลดเอ็นพีแอลจากร้อยละ 38 ในปัจจุบันเหลือร้อยละ 13-14 ภายในสิ้นปีนี้ โดยปัจจุบันมีเอ็นพีแอลอยู่ 34,000 ล้านบาท
ส่วนไอแบงก์ อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังในสิ้นเดือนนี้ ด้าน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เตรียมแผนปรับโครงสร้างการบริหารภายในใหม่ให้มีความคล่องตัว เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึงทำการตลาดโทรศัพท์มือถือ 3 จี การขยายตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ขณะที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีแผนปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว มีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารธุรกิจ เช่น การให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคม การให้บริการมือถือ เป็นต้น