บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปภาวะตลาดทุนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (11-15 ส.ค.) ดัชนี SET ปรับเพิ่มขึ้น หลังนักลงทุนคลายความกังวลสถานการณ์ในอิรัก และยูเครนลงบางส่วน โดยดัชนีปิดที่ระดับ 1,546.62 จุด เพิ่มขึ้น 1.73% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 17.92% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 53,712.67 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 603.08 จุด เพิ่มขึ้น 0.61% จากสัปดาห์ก่อน
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นในวันพุธตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยนักลงทุนต่างชาติ และกองทุนในประเทศเข้าซื้อหุ้นจากความคาดหวังว่าสถานการณ์ในยูเครนน่าจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ก่อนที่จะย่อตัวลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี จากการขายทำกำไรของนักลงทุน แต่ปรับเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ตามแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มที่ได้อานิสงส์จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของ คสช.
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (18-22 ส.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้น จากแรงซื้อเก็งกำไรก่อนการจัดตั้งรัฐบาล สำหรับปัจจัยภายนอกที่ต้องติดตามคงได้แก่ สถานการณ์ในอิรัก และยูเครน รวมทั้งการรายงานบันทึกการประชุมเฟด ขณะที่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งตลาดคงจะจับตาในสัปดาห์หน้า ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ และเครื่องชี้ภาคการผลิต อันจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดต่างประเทศ สะท้อนมาถึงการปรับตัวของตลาดหุ้นไทย ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การพิจารณา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ของ สนช.ซึ่งความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวน่าจะส่งผลบวกต่อการปรับตัวของตลาดหุ้น
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นในวันพุธตามตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยนักลงทุนต่างชาติ และกองทุนในประเทศเข้าซื้อหุ้นจากความคาดหวังว่าสถานการณ์ในยูเครนน่าจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ก่อนที่จะย่อตัวลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี จากการขายทำกำไรของนักลงทุน แต่ปรับเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ตามแรงซื้อเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มที่ได้อานิสงส์จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของ คสช.
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์ถัดไป (18-22 ส.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้น จากแรงซื้อเก็งกำไรก่อนการจัดตั้งรัฐบาล สำหรับปัจจัยภายนอกที่ต้องติดตามคงได้แก่ สถานการณ์ในอิรัก และยูเครน รวมทั้งการรายงานบันทึกการประชุมเฟด ขณะที่ การรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งตลาดคงจะจับตาในสัปดาห์หน้า ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ และเครื่องชี้ภาคการผลิต อันจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาดต่างประเทศ สะท้อนมาถึงการปรับตัวของตลาดหุ้นไทย ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การพิจารณา พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ของ สนช.ซึ่งความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวน่าจะส่งผลบวกต่อการปรับตัวของตลาดหุ้น