นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือกับเครือข่ายภาคีภาคสังคม 26 องค์กร ได้มีฉันทามติเสนอ 7 มาตรการปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน ได้แก่ การแก้ไขกฎหมายให้คอร์รัปชันเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ต้องลงโทษโดยไม่มีการรอลงอาญา และกำหนดมาตรการให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น รวมทั้งป้องกันการแทรกแซงสื่อ ควบคุมการใช้งบประมาณเพื่อการโฆษณาของรัฐด้วย
รวมถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบการการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ การสร้างความโปร่งใสในภาครัฐ ด้วยการเร่งปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารรัฐวิสาหกิจโดยยึดมาตรฐานบรรษัทภิบาล เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และห้ามบุคคลในกระบวนการยุติธรรม เป็นคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง และจัดงบประมาณเพื่อการรณรงค์อย่างน้อย 5 ปี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมธรรมาภิบาล และต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม ผู้นำทางการเมืองควรสร้างความโปร่งใส และเป็นแบบอย่างที่ดี โดยเริ่มต้นจากการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ต่อสาธารณะ และคาดหวังว่าสภาปฎิรูปแห่งชาติจะผลักดันให้การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ โดยต้องดำเนินการให้ได้ในกรอบเวลา 1 ปี และต่อเนื่องในระยะยาวด้วย
รวมถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบการการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ การสร้างความโปร่งใสในภาครัฐ ด้วยการเร่งปรับปรุง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารรัฐวิสาหกิจโดยยึดมาตรฐานบรรษัทภิบาล เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และห้ามบุคคลในกระบวนการยุติธรรม เป็นคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง และจัดงบประมาณเพื่อการรณรงค์อย่างน้อย 5 ปี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมธรรมาภิบาล และต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม ผู้นำทางการเมืองควรสร้างความโปร่งใส และเป็นแบบอย่างที่ดี โดยเริ่มต้นจากการแสดงบัญชีทรัพย์สิน ต่อสาธารณะ และคาดหวังว่าสภาปฎิรูปแห่งชาติจะผลักดันให้การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ โดยต้องดำเนินการให้ได้ในกรอบเวลา 1 ปี และต่อเนื่องในระยะยาวด้วย