เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอของ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด หรือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลสั่งชะลอการบังคับใช้ ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่สั่งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ต้องสิ้นสุดการทำหน้าที่โทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์เครี) ในวันที่ 25 พ.ค. 2557 ไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ในคดีที่บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ (ช่อง 3) ยื่นฟ้อง กสทช. และพวกรวม 3 รายเป็นผู้ถูกฟ้องคดี ขอให้ศาลเพิกถอนกฎดังกล่าวเนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยเหตุผลที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอดังกล่าวระบุว่า บริษัทบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เป็นผู้ได้รับอนุญาตตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 75 ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 ที่มีสิทธิประกอบกิจโทรทัศน์ตามที่ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้นต่อไปจนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะสิ้นสุด บริษัทบางกอกฯจึงตกอยู่ในบังคับให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ทเป็นการทั่วไปและต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว
เมื่อต่อมาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2557 วันที่ 3 ก.พ. 2557 วาระที่ 4.8 เห็นชอบให้ผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งรวมถึงบริษัทบางกอกฯ สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป กรณีจึงเป็นการที่กสท. ใช้อำนาจตามประกาศพิพาทพิจารณามีคำสั่งหรือประกาศเป็นอย่างอื่น แตกต่างไปจากข้อกำหนดเดิมในประกาศฉบับดังกล่าว ในชั้นนี้จึงยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกำหนดให้บริษัทบางกอกฯ สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไปตามข้อ 8 ของประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไปนั้น จะมีผลทำให้ใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทบางกอกฯสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่
ดังนั้น เมื่อกระบวนการเพื่อมีมติหรือคำสั่งของกสท. ในคราวการประชุมที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 57 ในวาระที่ 4.8 เป็นไปตามข้อกฎหมาย จึงยังฟังได้ว่ามติหรือคำสั่งพิพาทจะไม่ชอบด้วยกฎหมายตามเงื่อนไขประการแรกของการมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองมาตรา 66 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง 2542 เมื่อคำขอของบริษัทบางกอกไม่เข้าเงื่อนไข ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้ประกาศกสทช. ตามที่บริษัทบางกอกฯร้องขอได้ ส่วนประเด็นที่ว่ามติของกสท. ในการประชุมวันที่ 3 ก.พ. 2557 ในวาระที่ 4.8 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นเนื้อหาของคดีที่ศาลจะได้แสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจากคู่กรณีทุกฝ่าย และจะพิจารณามีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าวต่อไป
โดยเหตุผลที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอดังกล่าวระบุว่า บริษัทบางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เป็นผู้ได้รับอนุญาตตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 75 ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 ที่มีสิทธิประกอบกิจโทรทัศน์ตามที่ได้รับอนุญาต สัมปทานหรือสัญญานั้นต่อไปจนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้นจะสิ้นสุด บริษัทบางกอกฯจึงตกอยู่ในบังคับให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ทเป็นการทั่วไปและต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว
เมื่อต่อมาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติในการประชุมครั้งที่ 4/2557 วันที่ 3 ก.พ. 2557 วาระที่ 4.8 เห็นชอบให้ผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งรวมถึงบริษัทบางกอกฯ สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป กรณีจึงเป็นการที่กสท. ใช้อำนาจตามประกาศพิพาทพิจารณามีคำสั่งหรือประกาศเป็นอย่างอื่น แตกต่างไปจากข้อกำหนดเดิมในประกาศฉบับดังกล่าว ในชั้นนี้จึงยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกำหนดให้บริษัทบางกอกฯ สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไปตามข้อ 8 ของประกาศกสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไปนั้น จะมีผลทำให้ใบอนุญาตประกอบกิจการของบริษัทบางกอกฯสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่
ดังนั้น เมื่อกระบวนการเพื่อมีมติหรือคำสั่งของกสท. ในคราวการประชุมที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 3 ก.พ. 57 ในวาระที่ 4.8 เป็นไปตามข้อกฎหมาย จึงยังฟังได้ว่ามติหรือคำสั่งพิพาทจะไม่ชอบด้วยกฎหมายตามเงื่อนไขประการแรกของการมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองมาตรา 66 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง 2542 เมื่อคำขอของบริษัทบางกอกไม่เข้าเงื่อนไข ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้ประกาศกสทช. ตามที่บริษัทบางกอกฯร้องขอได้ ส่วนประเด็นที่ว่ามติของกสท. ในการประชุมวันที่ 3 ก.พ. 2557 ในวาระที่ 4.8 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นเนื้อหาของคดีที่ศาลจะได้แสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจากคู่กรณีทุกฝ่าย และจะพิจารณามีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าวต่อไป