นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด ลงพื้นที่ตลาดสดมหาชัย และตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารทะเล โดยเจ้าหน้าที่ได้ขอความร่วมมือร้านค้าเก็บตัวอย่างอาหารทะเล ประเภท กุ้ง ปลาหมึก หอย ปู และปลา ไปอย่างละ 3 ตัวอย่าง
เลขาธิการ สคบ.กล่าวว่า การสุ่มตรวจอาหารทะเลในครั้งนี้เป็นการทำงานเชิงรุก ที่ สคบ.ต้องการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากการรับประทานอาหารทะเลที่อาจปนเปื้อนสารเคมีอันตราย เช่น โลหะหนัก ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และฟอร์มาลีน ซึ่งหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร หรือบางรายอาจส่งผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ หรืออาจสะสมจนก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ หลังจากเก็บตัวอย่างไปแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาในกระบวนการตรวจสอบประมาณ 2 - 3 วัน จึงจะทราบผล หากพบความผิดปกติ สคบ.จะเร่งหาต้นตอของสารปนเปื้อนทันที
สำหรับมาตรฐานอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 273 พุทธศักราช 2546 กำหนดไว้ว่า ปริมาณสารหนู ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ปริมาณแคดเมียมในกุ้ง ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนหอย ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ปริมาณตะกั่ว ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ปริมาณปรอท ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ส่วนฟอร์มาลีนห้ามนำมาใช้กับอาหารโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522 มาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท
เลขาธิการ สคบ.กล่าวว่า การสุ่มตรวจอาหารทะเลในครั้งนี้เป็นการทำงานเชิงรุก ที่ สคบ.ต้องการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคจากการรับประทานอาหารทะเลที่อาจปนเปื้อนสารเคมีอันตราย เช่น โลหะหนัก ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู และฟอร์มาลีน ซึ่งหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เบื่ออาหาร หรือบางรายอาจส่งผลต่อระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ หรืออาจสะสมจนก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ หลังจากเก็บตัวอย่างไปแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาในกระบวนการตรวจสอบประมาณ 2 - 3 วัน จึงจะทราบผล หากพบความผิดปกติ สคบ.จะเร่งหาต้นตอของสารปนเปื้อนทันที
สำหรับมาตรฐานอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 273 พุทธศักราช 2546 กำหนดไว้ว่า ปริมาณสารหนู ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ปริมาณแคดเมียมในกุ้ง ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนหอย ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ปริมาณตะกั่ว ต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ปริมาณปรอท ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ส่วนฟอร์มาลีนห้ามนำมาใช้กับอาหารโดยเด็ดขาด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522 มาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท