นางสาวกรณ์สรวง ภิรมย์ รองผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสปาว่า มาตรการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพสปา ได้ทำการเสร็จสิ้นไปแล้ว เมื่อวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยผลลัพธ์สำคัญจากการจัดทำมาตรฐานอาชีพสปา และคุณวุฒิวิชาชีพครั้งนี้ จะช่วยทำให้เจ้าของอาชีพสปาสามารถรู้ระดับสมรรถนะของตนเอง เชื่อมโยงไปกับค่าตอบแทนที่ เหมาะสมสอดคล้องกับสมรรถนะของตนเอง และสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาความก้าวหน้าสายอาชีพตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามระดับสมรรถนะต่างๆ ที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ฝ่ายนายจ้างหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจตนเองได้อย่างเหมาะสม
ส่วนก้าวสำคัญต่อไปคือ การผลักดันสาขาอาชีพสปาไทยไปเทียบเคียงกับต่างประเทศ (Referencing) ซึ่งปัจจุบันนานาประเทศได้ใช้กระบวนการเทียบเคียงเป็นเครื่องมือสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อให้มาตรฐานสมรรถนะเป็นที่ยอมรับในอาเซียนและสากล โดย สคช.เริ่มต้นสร้างความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในระยะแรกนี้คือ ร่วมกับประเทศอินโดนีเซียในการจัดทำสัมมนา เชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายประเทศไทยและอินโดนีเซีย ผลที่ได้จากโครงการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพนี้ จะเป็นเส้นทางลัดสู่ ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด และสามารถนำผลที่ได้จากการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพนี้มาจัดทำ และวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนากำลังผลิตของประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับความ เร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยกระดับคุณภาพและให้กำลังพลของประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับ นานาประเทศและนำไปสู่กระบวนการทำข้อตกลง ยอมรับร่วมกัน Mutual Recognition Agreement (MRA) ในลำดับต่อไป
ส่วนก้าวสำคัญต่อไปคือ การผลักดันสาขาอาชีพสปาไทยไปเทียบเคียงกับต่างประเทศ (Referencing) ซึ่งปัจจุบันนานาประเทศได้ใช้กระบวนการเทียบเคียงเป็นเครื่องมือสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เพื่อให้มาตรฐานสมรรถนะเป็นที่ยอมรับในอาเซียนและสากล โดย สคช.เริ่มต้นสร้างความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในระยะแรกนี้คือ ร่วมกับประเทศอินโดนีเซียในการจัดทำสัมมนา เชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายประเทศไทยและอินโดนีเซีย ผลที่ได้จากโครงการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพนี้ จะเป็นเส้นทางลัดสู่ ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด และสามารถนำผลที่ได้จากการเทียบเคียงมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพนี้มาจัดทำ และวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนากำลังผลิตของประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับความ เร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ของประเทศ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยกระดับคุณภาพและให้กำลังพลของประเทศไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับ นานาประเทศและนำไปสู่กระบวนการทำข้อตกลง ยอมรับร่วมกัน Mutual Recognition Agreement (MRA) ในลำดับต่อไป