วันนี้ (23 ก.ค.) ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู) ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม ได้เริ่มต้นภารกิจโดยหารือกับนายเดวิด โอซิลลิแวน ปลัดกระทรวงต่างประเทศของอียู พร้อมกับรับประทานอาหารกลางวันและหารือกับสมาชิกรัฐสภายุโรป จากนั้นได้เข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำที่นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในอาเซียน ที่เข้าร่วมประชุม
นายสีหศักดิ์ เปิดเผยว่า สหภาพยุโรปมีท่าทีค่อนข้างแรงต่อประเทศไทยภายหลังเหตุการณ์วันที่ 22 พฤษภาคม ทั้งนี้ ตนได้พบกับทั้งฝ่ายอียูที่เป็นผู้นำเสนอนโยบาย รวมถึงพบปะกับสมาชิกอียูที่มาจากแต่ละประเทศไปพร้อมๆ กัน
สำหรับการพูดคุยกับปลัดกระทรวงต่างประเทศอียู มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งตนได้ชี้แจงว่า ฝ่ายอียูจะมองโดยเอาหลักการเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจที่แท้จริงด้วยว่า สถานการณ์ในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร และเส้นทางประชาธิปไตยของแต่ละประเทศไม่ใช่เส้นตรงเสมอไป ดังนั้น จะใช้บรรทัดฐานหรือมองด้วยอุดมคติที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของแต่ละประเทศไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในไทยไม่ใช่การล้มประชาธิปไตย แต่เป็นการประคับประคองประชาธิปไตยในไทยให้ก้าวหน้าต่อไป
โดยขณะนี้ไทยกำลังมุ่งมั่นเดินตามโรดแมปที่ได้ประกาศไว้ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และจะเดินหน้าตามขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป จึงไม่อยากให้อียูด่วนสรุป แต่ขอให้ดูตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อให้ไทยกลับสู่การมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งนี้ โรดแมปของไทยที่ใช้เวลา 15 เดือนนั้น ไม่ใช่เวลานานไป หากจะทำให้ประชาธิปไตยไทยยั่งยืนได้
นายสีหศักดิ์ เปิดเผยว่า สหภาพยุโรปมีท่าทีค่อนข้างแรงต่อประเทศไทยภายหลังเหตุการณ์วันที่ 22 พฤษภาคม ทั้งนี้ ตนได้พบกับทั้งฝ่ายอียูที่เป็นผู้นำเสนอนโยบาย รวมถึงพบปะกับสมาชิกอียูที่มาจากแต่ละประเทศไปพร้อมๆ กัน
สำหรับการพูดคุยกับปลัดกระทรวงต่างประเทศอียู มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งตนได้ชี้แจงว่า ฝ่ายอียูจะมองโดยเอาหลักการเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจที่แท้จริงด้วยว่า สถานการณ์ในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร และเส้นทางประชาธิปไตยของแต่ละประเทศไม่ใช่เส้นตรงเสมอไป ดังนั้น จะใช้บรรทัดฐานหรือมองด้วยอุดมคติที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของแต่ละประเทศไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในไทยไม่ใช่การล้มประชาธิปไตย แต่เป็นการประคับประคองประชาธิปไตยในไทยให้ก้าวหน้าต่อไป
โดยขณะนี้ไทยกำลังมุ่งมั่นเดินตามโรดแมปที่ได้ประกาศไว้ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และจะเดินหน้าตามขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป จึงไม่อยากให้อียูด่วนสรุป แต่ขอให้ดูตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อให้ไทยกลับสู่การมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่งยืน ทั้งนี้ โรดแมปของไทยที่ใช้เวลา 15 เดือนนั้น ไม่ใช่เวลานานไป หากจะทำให้ประชาธิปไตยไทยยั่งยืนได้