นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ได้เร่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ร่วมดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่ รถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวนให้เรียบร้อยตามแผนในสิ้นปีนี้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการให้บริการ รวมถึงแผนการจัดหารถใหม่ 7 ขบวนรองรับผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้น
ขณะที่ พล.อ.อ.คำรบ ลียะวณิช รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กล่าวว่า บอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติให้ดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทั้ง 9 ขบวน ตามวาระ โดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2556 วงเงิน 300 ล้านบาท โดยเนื้องานไม่รวมงานซ่อมระบบเบรกของตัวรถไฟฟ้า เนื่องจากระบบเบรกของรถไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญโดยตรงต่อความปลอดภัย โดยเฉพาะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่วิ่งให้บริการด้วยความเร็วสูงกว่ารถไฟฟ้าทั่วไป และเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเฉพาะของผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากประเทศเยอรมัน จึงให้แยกซ่อมระบบเบรกออกมาโดยจะว่าจ้างเจ้าของผลิตภัณฑ์รายนั้นที่ประเทศเยอรมันเป็นผู้ซ่อมเองโดยตรง
มีรายงานว่า รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทั้ง 9 ขบวน กำหนดให้วิ่ง 8 ขบวนสำรอง 1 ขบวน มีผู้โดยสารเฉลี่ย 4.5 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 4 หมื่นคนต่อวัน คาดว่ารายได้ปี 2556 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 45 ล้านบาท โดยในวันธรรมดามีผู้โดยสารประมาณ 5 หมื่นคน วันศุกร์ประมาณ 5.4 หมื่นคน เสาร์-อาทิตย์ ประมาณ 3 หมื่นคน ส่วนรถไฟฟ้าด่วนมีผู้โดยสารเฉลี่ย 400 คนต่อวัน ลดลงจากก่อนหน้านี้เนื่องจากยกเลิกวิ่งพญาไท-สุวรรณภูมิเหลือเส้นทางมักกะสัน-สุวรรณภูมิอย่างเดียว
สำหรับการซ่อมบำรุงใหญ่ขบวนรถไฟฟ้าเป็นการดำเนินการตามวาระ เมื่อรถไฟฟ้าผ่านการใช้งานถึงเกณฑ์ระยะทางหนึ่งที่กำหนด (อ้างอิงตามคู่มือปฏิบัติการและซ่อมบำรุง หมายเลข OPM 0035 Maintenance Plan ของผู้ผลิตรถไฟฟ้า) ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวน ได้วิ่งให้บริการจนใกล้จะถึงเกณฑ์ระยะทางค่าที่กำหนดดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นจะต้องเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่และงานซ่อมระบบเบรกพร้อมกัน
ขณะที่ พล.อ.อ.คำรบ ลียะวณิช รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กล่าวว่า บอร์ด ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติให้ดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทั้ง 9 ขบวน ตามวาระ โดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2556 วงเงิน 300 ล้านบาท โดยเนื้องานไม่รวมงานซ่อมระบบเบรกของตัวรถไฟฟ้า เนื่องจากระบบเบรกของรถไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญโดยตรงต่อความปลอดภัย โดยเฉพาะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่วิ่งให้บริการด้วยความเร็วสูงกว่ารถไฟฟ้าทั่วไป และเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเฉพาะของผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงจากประเทศเยอรมัน จึงให้แยกซ่อมระบบเบรกออกมาโดยจะว่าจ้างเจ้าของผลิตภัณฑ์รายนั้นที่ประเทศเยอรมันเป็นผู้ซ่อมเองโดยตรง
มีรายงานว่า รถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทั้ง 9 ขบวน กำหนดให้วิ่ง 8 ขบวนสำรอง 1 ขบวน มีผู้โดยสารเฉลี่ย 4.5 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ย 4 หมื่นคนต่อวัน คาดว่ารายได้ปี 2556 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 10% โดยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 45 ล้านบาท โดยในวันธรรมดามีผู้โดยสารประมาณ 5 หมื่นคน วันศุกร์ประมาณ 5.4 หมื่นคน เสาร์-อาทิตย์ ประมาณ 3 หมื่นคน ส่วนรถไฟฟ้าด่วนมีผู้โดยสารเฉลี่ย 400 คนต่อวัน ลดลงจากก่อนหน้านี้เนื่องจากยกเลิกวิ่งพญาไท-สุวรรณภูมิเหลือเส้นทางมักกะสัน-สุวรรณภูมิอย่างเดียว
สำหรับการซ่อมบำรุงใหญ่ขบวนรถไฟฟ้าเป็นการดำเนินการตามวาระ เมื่อรถไฟฟ้าผ่านการใช้งานถึงเกณฑ์ระยะทางหนึ่งที่กำหนด (อ้างอิงตามคู่มือปฏิบัติการและซ่อมบำรุง หมายเลข OPM 0035 Maintenance Plan ของผู้ผลิตรถไฟฟ้า) ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้ง 9 ขบวน ได้วิ่งให้บริการจนใกล้จะถึงเกณฑ์ระยะทางค่าที่กำหนดดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นจะต้องเร่งดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่และงานซ่อมระบบเบรกพร้อมกัน