วันนี้ (18 ก.ค.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนาเรื่อง "ปฏิรูปสังคมไทย พ้นภัยคอร์รัปชัน" โดยมีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยนายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ และนายมานะ นิมิตรมงคล ผู้อำนวยการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมเสวนา
โดยระบุว่า การคอร์รัปชัน หรือการทุจริต ถือเป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศประสบปัญหา ดังเช่นการรับสินบนของข้าราชการ การปกปิดทรัพย์สินหรือการซื้อเสียงของนักการเมือง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จึงเสนอแผนแม่บทให้สังคมได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้มีการปฏิรูปการป้องกัน และปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ คือ การปฏิรูปด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ปรับปรุงให้ทันกับโลกปัจจุบัน และมีมาตรการที่บังคับใช้ได้จริง เพื่อกำหนดให้คดีคอร์รัปชันเป็นคดีอาญาร้ายแรง ต้องมีการลงโทษที่รุนแรงและไม่มีการรอลงอาญา
รวมถึงการกำหนดโทษกับผู้ให้สินบน การปฏิรูปด้านการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนและสังคม เพื่อให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้เป็นคดีที่ประชาชนสามารถเป็นโจทก์ยื่นฟ้องได้ และไม่มีอายุความ อีกทั้งการปฏิรูปด้านมาตรการความโปร่งใส กำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องเปิดเผยข้อมูลไม่น้อยกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ได้เสนอวิธีการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการลดการผูกขาด เพิ่มความโปร่งใสและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้คนในชาติ รวมทั้งเปิดเสรีการค้า ยกเลิกการผูกขาดนำเข้าสินค้าต่างๆ พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจที่มีการทุจริตคอรัปชันมากที่สุด คือ ประเภทโทรคมนาคม สาธารณูปโภค การเกษตร อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีขั้นตอนยุ่งยากในการขอใบอนุญาต ดังนั้นการลดขั้นตอนจะช่วยลดการทุจริตคอร์รัปชันได้
โดยระบุว่า การคอร์รัปชัน หรือการทุจริต ถือเป็นปัญหาสำคัญที่หลายประเทศประสบปัญหา ดังเช่นการรับสินบนของข้าราชการ การปกปิดทรัพย์สินหรือการซื้อเสียงของนักการเมือง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จึงเสนอแผนแม่บทให้สังคมได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้มีการปฏิรูปการป้องกัน และปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ คือ การปฏิรูปด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ปรับปรุงให้ทันกับโลกปัจจุบัน และมีมาตรการที่บังคับใช้ได้จริง เพื่อกำหนดให้คดีคอร์รัปชันเป็นคดีอาญาร้ายแรง ต้องมีการลงโทษที่รุนแรงและไม่มีการรอลงอาญา
รวมถึงการกำหนดโทษกับผู้ให้สินบน การปฏิรูปด้านการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนและสังคม เพื่อให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดให้เป็นคดีที่ประชาชนสามารถเป็นโจทก์ยื่นฟ้องได้ และไม่มีอายุความ อีกทั้งการปฏิรูปด้านมาตรการความโปร่งใส กำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องเปิดเผยข้อมูลไม่น้อยกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ได้เสนอวิธีการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการลดการผูกขาด เพิ่มความโปร่งใสและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้คนในชาติ รวมทั้งเปิดเสรีการค้า ยกเลิกการผูกขาดนำเข้าสินค้าต่างๆ พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจที่มีการทุจริตคอรัปชันมากที่สุด คือ ประเภทโทรคมนาคม สาธารณูปโภค การเกษตร อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีขั้นตอนยุ่งยากในการขอใบอนุญาต ดังนั้นการลดขั้นตอนจะช่วยลดการทุจริตคอร์รัปชันได้