คชก. ไฟเขียว กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการตามแผนโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไย ปี 2557 พร้อมอนุมัติวงเงินจ่ายขาด 73 ล้านบาท เร่งกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ส่งเสริมการแปรรูป และส่งเสริมการตลาด
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการตามแผนการดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไย ปี 2557 โดยกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ส่งเสริมการแปรรูป และส่งเสริมการตลาด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด มีระยะเวลาดำเนินการ 7 กรกฎาคม– 31 ตุลาคม 2557 ระยะเวลาโครงการ 7 กรกฎาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
คชก.อนุมัติวงเงินจ่ายขาด 73 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการ ดังนี้ มาตรการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ประกอบด้วย 1.กระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต วงเงินจ่ายขาด 36 ล้านบาท เป้าหมาย 14,400 ตัน โดยสนับสนุนค่าขนส่งและบริหาร อัตราเหมาจ่าย กิโลกรัมละ 2.50 บาท (ค่าขนส่ง 1.50 บาท และค่าการตลาด 1.00 บาท) ให้กับสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายลำไยออกนอกพื้นที่แหล่งผลิต 6 จังหวัดสู่ตลาดปลายทางโดยต้องไม่ใช่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เสริมสภาพคล่องในการซื้อขายลำไยวงเงินจ่ายขาด 1.50 ล้านบาท โดยสนับสนุนเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราร้อยละ 3 จากสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย และ SME ให้แก่สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสภาพคล่องในการซื้อขายลำไยเพื่อกระจายออกนอกแหล่งผลิต
ในส่วนการช่วยเหลือค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการผลผลิต ให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติการกำกับดูแล และระดับราคาผลไม้ที่จะเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือเช่นเดียวกับปี 2556 โดยให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรจังหวัด และมอบหมายให้ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์การเกษตรจังหวัด ร่วมพิจารณาดำเนินการกับคณะกรรมการฯ ดังกล่าวด้วย สำหรับมาตรการส่งเสริมการแปรรูป มีวงเงินจ่ายขาด 34.02 ล้านบาท เป้าหมาย 56,700 ตัน ให้กับสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแปรรูปลำไยอบแห้งใน 2 ลักษณะ คือ 1. แปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน และแพร่ วงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ 30.30 ล้านบาท เป้าหมาย 50,500 ตัน และ 2. แปรรูปลำไยสดเป็นลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง วงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ 3.72 ล้านบาท การส่งเสริมการตลาด วงเงิน 0.4 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ผลไม้ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์และสถานีวิทยุ มก. และ ค่าบริหารจัดการโครงการ วงเงิน 1.08 ล้านบาท ให้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 3 ของงบดำเนินการ
ทั้งนี้ การบริหารจัดการผลผลิตลำไย ปี 2557 ในระดับจังหวัด หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ให้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด และมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบควบคุม กำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติให้โปร่งใสและเป็นธรรม
สำหรับสถานการณ์การผลิตลำไย 8 จังหวัด ในภาคเหนือ ปี 2557 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 674,002 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 16.68 เนื่องจากปีนี้อากาศหนาวเย็นเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ลำไยแทงช่อดอกมาก ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน และจะออกมากปลายเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม 2557 ขณะที่ราคารับซื้อไม้ผลที่ตลาดสำคัญของลำไยช่อพันธุ์อีดอ ของลำไยเกรด AA ในจุดรับซื้อ จ.เชียงใหม่ ขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 36 บาท
นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการตามแผนการดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลำไย ปี 2557 โดยกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ส่งเสริมการแปรรูป และส่งเสริมการตลาด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด มีระยะเวลาดำเนินการ 7 กรกฎาคม– 31 ตุลาคม 2557 ระยะเวลาโครงการ 7 กรกฎาคม 2557 – 30 มิถุนายน 2558
คชก.อนุมัติวงเงินจ่ายขาด 73 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการ ดังนี้ มาตรการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ประกอบด้วย 1.กระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต วงเงินจ่ายขาด 36 ล้านบาท เป้าหมาย 14,400 ตัน โดยสนับสนุนค่าขนส่งและบริหาร อัตราเหมาจ่าย กิโลกรัมละ 2.50 บาท (ค่าขนส่ง 1.50 บาท และค่าการตลาด 1.00 บาท) ให้กับสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายลำไยออกนอกพื้นที่แหล่งผลิต 6 จังหวัดสู่ตลาดปลายทางโดยต้องไม่ใช่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เสริมสภาพคล่องในการซื้อขายลำไยวงเงินจ่ายขาด 1.50 ล้านบาท โดยสนับสนุนเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราร้อยละ 3 จากสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย และ SME ให้แก่สถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสริมสภาพคล่องในการซื้อขายลำไยเพื่อกระจายออกนอกแหล่งผลิต
ในส่วนการช่วยเหลือค่าขนส่งและค่าบริหารจัดการผลผลิต ให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติการกำกับดูแล และระดับราคาผลไม้ที่จะเข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือเช่นเดียวกับปี 2556 โดยให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรจังหวัด และมอบหมายให้ผู้แทนชุมนุมสหกรณ์การเกษตรจังหวัด ร่วมพิจารณาดำเนินการกับคณะกรรมการฯ ดังกล่าวด้วย สำหรับมาตรการส่งเสริมการแปรรูป มีวงเงินจ่ายขาด 34.02 ล้านบาท เป้าหมาย 56,700 ตัน ให้กับสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแปรรูปลำไยอบแห้งใน 2 ลักษณะ คือ 1. แปรรูปลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน และแพร่ วงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ 30.30 ล้านบาท เป้าหมาย 50,500 ตัน และ 2. แปรรูปลำไยสดเป็นลำไยอบแห้งเนื้อสีทอง วงเงินชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ 3.72 ล้านบาท การส่งเสริมการตลาด วงเงิน 0.4 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ผลไม้ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์และสถานีวิทยุ มก. และ ค่าบริหารจัดการโครงการ วงเงิน 1.08 ล้านบาท ให้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินร้อยละ 3 ของงบดำเนินการ
ทั้งนี้ การบริหารจัดการผลผลิตลำไย ปี 2557 ในระดับจังหวัด หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ให้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด และมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบควบคุม กำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีปฏิบัติให้โปร่งใสและเป็นธรรม
สำหรับสถานการณ์การผลิตลำไย 8 จังหวัด ในภาคเหนือ ปี 2557 คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 674,002 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 16.68 เนื่องจากปีนี้อากาศหนาวเย็นเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ลำไยแทงช่อดอกมาก ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน และจะออกมากปลายเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม 2557 ขณะที่ราคารับซื้อไม้ผลที่ตลาดสำคัญของลำไยช่อพันธุ์อีดอ ของลำไยเกรด AA ในจุดรับซื้อ จ.เชียงใหม่ ขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 36 บาท