นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระบวนการคัดสรรผู้เข้าร่วมสภาปฏิรูปทั้งหมด 250 คน ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า เคยมีกระบวนคล้ายๆกันในสภาสนามม้า หรือสมัชชาแห่งชาติ ปีพ.ศ.2517 ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะได้เสียงสะท้อนจากประชาชนมากที่สุด ซึ่งเป็นการคัดเลือกบุคคลทั่วประเทศจากกลุ่มสาขาวิชาชีพต่างๆ อาทิ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ซึ่งโมเดลนี้ทหารจะไม่ต้องเป็นฝ่ายคิดและทำเพียงผู้เดียว กลุ่มคนในวิชาชีพสาขาต่างๆ เขาจะมีวิธีการสะท้อนที่มาของปัญหาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้คิดว่า วิธีการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก และเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เพราะการที่ คสช.เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมนั้น จะได้ไม่ฝ่ายที่ไม่ประสงค์ดีนำไปบิดเบือนว่าทหารเป็นฝ่ายผด็จการ เนื่องจากวิธีนี้เป็นการเปิดกว้างให้กับตัวแทนทุกอาชีพ ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศ
สำหรับการถ่วงดุลอำนาจของ คสช.กับรัฐบาล หลังมีการใช้ธรรมนูญปกครองชั่วคราวนั้น ตนไม่ติดใจในธรรมนูญ และเข้าใจ คสช.ว่าจำเป็นต้องมีบทบาทไว้เผื่อสถานการณ์ชั่วคราว แม้ว่าจะมีรัฐบาลแล้วก็ตาม ซึ่งสิ่งสำคัญคือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่ควรเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน รวมไปถึงการเน้นอำนาจการตรวจสอบถ่วงดุลขององค์กรอิสระที่จำเป็น และอำนาจของประชาชน ที่สามารถร้องเรียนต่อองค์กรทั้งหลายได้
สำหรับการถ่วงดุลอำนาจของ คสช.กับรัฐบาล หลังมีการใช้ธรรมนูญปกครองชั่วคราวนั้น ตนไม่ติดใจในธรรมนูญ และเข้าใจ คสช.ว่าจำเป็นต้องมีบทบาทไว้เผื่อสถานการณ์ชั่วคราว แม้ว่าจะมีรัฐบาลแล้วก็ตาม ซึ่งสิ่งสำคัญคือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่ควรเขียนรายละเอียดให้ชัดเจน รวมไปถึงการเน้นอำนาจการตรวจสอบถ่วงดุลขององค์กรอิสระที่จำเป็น และอำนาจของประชาชน ที่สามารถร้องเรียนต่อองค์กรทั้งหลายได้