พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าฝ่ายกฎหมายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในการประชุมมอบนโยบายปราบปรามยาเสพติดแก่ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด และนายอำเภอทั่วประเทศว่า ในการดำเนินการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอเป็นศูนย์กลางแก้ไขปัญหา เมื่อมีข้อติดขัดอะไร รวมถึงข้อกฎหมายให้รีบแจ้ง โดยให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรวบรวมเสนอ คสช.โดยด่วน เจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดต้องทำให้ชาวบ้านศรัทธา เร่งบำบัดผู้ติดยา เน้นการติดตามหลังการบำบัด ขอให้ใช้กลไกของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ในการปราบปรามการค้ายาเสพติด ตรวจสอบเรือนจำว่าต้องไม่มีโทรศัพท์ ให้กระทรวงมหาดไทยบูรณาการในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะการบำบัดผู้ติดยาเสพติด สำหรับมาตรการในการปราบปราม และจับกุมระยะต่อไปจะมีการจัดระบบงานของคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
พล.อ.ไพบูลย์ แถลงภายหลังการประชุมว่า เป็นการมาขอความร่วมมือ 3 เดือน ต่อจากนี้จะเน้นการบูรณาการกลุ่มงานด้านการบำบัดการฟื้นฟู การป้องกันและการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้กระทรวงมหาดไทยเป็นหลักในการดำเนินการ สำหรับการฟื้นฟูหลังการบำบัดผู้ติดยาเรียบร้อยแล้ว จะมอบหมายให้อำเภอเข้าไปดูแลผู้ที่ได้รับการบำบัด บทบาทของอำเภอจึงมีความสำคัญ สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในปี 2558 ได้จัดงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเพิ่มขึ้น เพื่อดำเนินการในส่วนนี้ โดยในช่วงบ่ายจะมีการประชุมเรื่องการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอแก้ไขข้อจำกัดของกฎหมาย ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายช่วงที่ผ่านมาได้ผลดีกว่าร้อยละ 50
พล.อ.ไพบูลย์ แถลงภายหลังการประชุมว่า เป็นการมาขอความร่วมมือ 3 เดือน ต่อจากนี้จะเน้นการบูรณาการกลุ่มงานด้านการบำบัดการฟื้นฟู การป้องกันและการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้กระทรวงมหาดไทยเป็นหลักในการดำเนินการ สำหรับการฟื้นฟูหลังการบำบัดผู้ติดยาเรียบร้อยแล้ว จะมอบหมายให้อำเภอเข้าไปดูแลผู้ที่ได้รับการบำบัด บทบาทของอำเภอจึงมีความสำคัญ สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในปี 2558 ได้จัดงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเพิ่มขึ้น เพื่อดำเนินการในส่วนนี้ โดยในช่วงบ่ายจะมีการประชุมเรื่องการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอแก้ไขข้อจำกัดของกฎหมาย ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายช่วงที่ผ่านมาได้ผลดีกว่าร้อยละ 50