นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงผลประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในฤดูกาลผลิต 2557/2558 เน้นการเพิ่มรายได้ ทั้งการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าข้าว โดยออกเป็นมาตรการหลักและมาตรการเสริม 5 มาตรการ ใช้งบประมาณทั้งหมด 4,747 ล้านบาท ซึ่งมาตรการหลักเป็นการลดต้นทุนปัจจัยการผลิตให้เกษตรกร ทั้งเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าบริการรถเกี่ยวข้าวและค่าเช่าที่นาให้ลดลงไร่ละ 432 บาท จากต้นทุนรวมไร่ละ 4,787 บาท
ส่วนมาตรการเสริมมี 4 มาตรการ คือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นาน 6 เดือน วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 50,000 บาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร 20,000 ล้านบาท ส่งเสริมการตลาด โดยให้กระทรวงพาณิชย์เร่งหาตลาดใหม่ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวเก็บสต๊อกข้าว โดยการชดเชยดอกเบี้ย เชื่อมโยงตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศ และการประกันยุ้งฉาง โดยให้ ธ.ก.ส.ปล่อยสินเชื่อ 80 เปอร์เซ็นต์ของราคาตลาดเฉลี่ย เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกและประกันภัยนาข้าว ซึ่งเป็นมาตรการตามความสมัครใจของเกษตรกรคุ้มครองไร่ละ 1,111 บาท พื้นที่เป้าหมาย 1.5 ล้านไร โดยเกษตรกรจ่ายเบี้ยประกันไร่ละ 60-100 บาท และ ธ.ก.ส.สมทบไร่ละ 10 บาท หากประสบภัยจะได้ชดเชยถึงไร่ละ 2,224 บาท
ขณะเดียวกันที่ประชุม คสช.ยังอนุมัติงบกลางฯ ของปีงบประมาณ 57 จำนวน 90 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการแก้ปัญหาเร่งด่วน เพื่อควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเล จากกลุ่มอาการตายด่วน โดยให้กรมประมงไปเร่งนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ก่อนนำมาให้ผู้เลี้ยงกุ้งให้เสร็จภายใน 3 เดือนจากนี้
ส่วนมาตรการเสริมมี 4 มาตรการ คือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นาน 6 เดือน วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 50,000 บาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปล่อยสินเชื่อให้สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร 20,000 ล้านบาท ส่งเสริมการตลาด โดยให้กระทรวงพาณิชย์เร่งหาตลาดใหม่ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวเก็บสต๊อกข้าว โดยการชดเชยดอกเบี้ย เชื่อมโยงตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศ และการประกันยุ้งฉาง โดยให้ ธ.ก.ส.ปล่อยสินเชื่อ 80 เปอร์เซ็นต์ของราคาตลาดเฉลี่ย เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกและประกันภัยนาข้าว ซึ่งเป็นมาตรการตามความสมัครใจของเกษตรกรคุ้มครองไร่ละ 1,111 บาท พื้นที่เป้าหมาย 1.5 ล้านไร โดยเกษตรกรจ่ายเบี้ยประกันไร่ละ 60-100 บาท และ ธ.ก.ส.สมทบไร่ละ 10 บาท หากประสบภัยจะได้ชดเชยถึงไร่ละ 2,224 บาท
ขณะเดียวกันที่ประชุม คสช.ยังอนุมัติงบกลางฯ ของปีงบประมาณ 57 จำนวน 90 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการแก้ปัญหาเร่งด่วน เพื่อควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเล จากกลุ่มอาการตายด่วน โดยให้กรมประมงไปเร่งนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ก่อนนำมาให้ผู้เลี้ยงกุ้งให้เสร็จภายใน 3 เดือนจากนี้