นายธนิต โสรัตน์ อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่ลดลงลิตรละ 14 สตางค์ มาอยู่ที่ 29.85 บาทต่อลิตรนั้น ส่งผลดีในด้านจิตวิทยาต่อประชาชน และผู้ประกอบการจะไม่มีข้ออ้างเรื่องต้นทุนค่าน้ำมันในการขอปรับขึ้นราคาสินค้า ส่วนราคาสินค้าที่ยังจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ คงไม่มีการปรับลดราคาลง เพราะราคาน้ำมันขยับลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากลดลงลิตรละ 1 บาท จะส่งผลต่อต้นทุนเพียง 0.40% เท่านั้น
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า สิ่งที่ภาครัฐต้องทำอย่างเร่งด่วนเป็นการเฉพาะหน้าคือ การปรับเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม ให้ขึ้นมาเท่ากับแอลพีจีภาคครัวเรือน หรือก๊าซหุงต้มที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบจำหน่ายผิดประเภท โดยหลังจากนั้นควรที่จะขยับราคาขึ้น ให้สะท้อนต้นทุนที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนราคาแอลพีจีเป็นระยะเวลานานนั้น เป็นการบิดเบือนโครงสร้างการใช้พลังงาน ทำให้ไทยซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกแอลพีจี ต้องกลายมาเป็นประเทศที่นำเข้า และต้องใช้เงินในกองทุนน้ำมันเข้าไปชดเชยส่งต่างราคาถึงปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมันในกลุ่มเบนซิน ที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ในอัตราที่สูงกว่าผู้ใช้ดีเซล เพื่อแบกรับภาระในส่วนนี้
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า สิ่งที่ภาครัฐต้องทำอย่างเร่งด่วนเป็นการเฉพาะหน้าคือ การปรับเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม ให้ขึ้นมาเท่ากับแอลพีจีภาคครัวเรือน หรือก๊าซหุงต้มที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบจำหน่ายผิดประเภท โดยหลังจากนั้นควรที่จะขยับราคาขึ้น ให้สะท้อนต้นทุนที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนราคาแอลพีจีเป็นระยะเวลานานนั้น เป็นการบิดเบือนโครงสร้างการใช้พลังงาน ทำให้ไทยซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกแอลพีจี ต้องกลายมาเป็นประเทศที่นำเข้า และต้องใช้เงินในกองทุนน้ำมันเข้าไปชดเชยส่งต่างราคาถึงปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมันในกลุ่มเบนซิน ที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ ในอัตราที่สูงกว่าผู้ใช้ดีเซล เพื่อแบกรับภาระในส่วนนี้