ผู้เชี่ยวชาญฟันธง สามมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก อเมริกา-จีน-ญี่ปุ่น ทำสงครามปาก ในเวทีประชุมความมั่นคงแห่งเอเชียสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น แต่ไม่มีแนวโน้มชักนำให้เกิดสงคราม หรือทำให้สัมพันธภาพของสามประเทศตกต่ำไปกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างตระหนักถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่โยงใยกันอย่างลึกซึ้ง
ตอนที่ อิสึโนริ โอโนเดระ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น เข้ามาทักทาย พลโท หวัง กว่างซ่ง รองเสนาธิการทหารกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ณ การประชุม “แชงกรี-ลา ไดอะล็อก” ที่สิงคโปร์ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏว่าเขาประสบกับการดูแคลนแบบที่ไม่ใช่กริยาทางการทูตเอาเสียเลย
หวัง บอกว่า เขารู้สึกไม่พอใจมากต่อการที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่น พูดเป็นนัยๆ ว่า จีนต้องรับผิดชอบสำหรับข้อพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก แล้วหลังจากนั้น ชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ก็ยังกล่าวหาว่า ปักกิ่งบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค
“สิ่งที่มิสเตอร์อาเบะเพิ่งพูดไปนั้น เป็นการวิพากษ์วิจารณ์แบบอำพรางไม่เปิดเผยซึ่งมุ่งเล่นงานจีนนั่นเอง” หวัง กล่าวกับ โอโนเดระ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวไชน่า นิวส์ เซอร์วิส ที่เป็นสำนักข่าวกึ่งทางการของแดนมังกร “ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่ถูกต้อง และขัดต่อมาตรฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
การต่อปากต่อคำกันระหว่าง 3 ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ เวทีการอภิปรายหารือประจำปีระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่ทหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหม ที่สิงคโปร์คราวนี้ ถือเป็นครั้งที่ดุเดือดที่สุดซึ่งเคยเกิดขึ้นบนเวทีการชุมนุมทางการทูตในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา และอาจบั่นทอนความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของมหาอำนาจกลุ่มนี้
เวที แชงกรี-ลา ไดอะล็อก ถือเป็นการประชุมหารือขนาดใหญ่ครั้งแรก นับตั้งแต่ที่ความตึงเครียดเพิ่มสูงพุ่งปริ๊ดในทะเลจีนใต้ หนึ่งในอาณาบริเวณพิพาทซึ่งยากแก่การแก้ไขคลี่คลายที่สุดของเอเชีย และก็เป็นจุดที่อาจปะทุกลายเป็นความขัดแย้งต่อสู้กันได้ง่ายดายที่สุดด้วย
สิ่งที่ทำให้พวกเขา (ฝ่ายจีน) รู้สึกวิตกมากๆ ก็คือ การที่ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯกำลังแสดงตนเป็นพันธมิตรกันอย่างแข็งแกร่งยิ่ง และดูเหมือนกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ชิดกันมากขึ้น นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากเวทีประชุมในปีนี้” ทิม ฮักซ์ลีย์ ผู้อำนวยการบริหารของสถาบันยุทธศาสตร์ศึกษาระหว่างประเทศ (อินเตอร์เนชันแนล อินสติติวท์ ออฟ สเตรทเทจิก สตัดดีส์) ในเอเชีย ซึ่งเป็นผู้จัดการประชุมคราวนี้ ระบุ
“ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจถูกหรือการเข้าใจผิดก็ตามที แต่ฝ่ายจีนจะมองเรื่องนี้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพราะมันหมายความว่าพวกเขากำลังจะเผชิญกับพันธมิตรที่มีความกลมเกลียวสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้นนั่นเอง”
กระนั้นก็ตามที การทะเลาะขัดแย้งกันเช่นนี้ ยังไม่น่าที่จะก่อให้เกิดผลกระทบบานปลายใหญ่โต เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศมีสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางธุรกิจอันเหนียวแน่นลึกซึ้ง โดยที่ไม่มีฝ่ายใดปรารถนาจะให้สายสัมพันธ์เช่นนี้ต้องสะดุดติดขัด
“เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ยังไม่ได้อยู่ในจุดที่จะเกิดการแตกหักกัน” บอนนี เกลเซอร์ แห่ง ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (เซนเตอร์ ฟอร์ สเตรทเทจิก แอนด์ อินเตอร์เนชันแนล สตัดดีส์) ในวอชิงตัน ซึ่งเป็นแขกประจำของแชงกรี-ลา ไดอะล็อก กล่าว
“พวกผู้นำต่างตระหนักดีว่าประเทศของพวกเขามีส่วนได้ส่วนเสียอันมหึมาอยู่ในความสัมพันธ์นี้ และพวกเขาก็มีความมุ่งมั่นผูกพันที่จะพยายามมองหาอาณาบริเวณซึ่งผลประโยชน์ของพวกเขาทับซ้อนกันอยู่ เป็นอาณาบริเวณซึ่งพวกเขาสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้”
ตอนที่ อิสึโนริ โอโนเดระ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น เข้ามาทักทาย พลโท หวัง กว่างซ่ง รองเสนาธิการทหารกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ณ การประชุม “แชงกรี-ลา ไดอะล็อก” ที่สิงคโปร์ เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏว่าเขาประสบกับการดูแคลนแบบที่ไม่ใช่กริยาทางการทูตเอาเสียเลย
หวัง บอกว่า เขารู้สึกไม่พอใจมากต่อการที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่น พูดเป็นนัยๆ ว่า จีนต้องรับผิดชอบสำหรับข้อพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก แล้วหลังจากนั้น ชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ก็ยังกล่าวหาว่า ปักกิ่งบ่อนทำลายเสถียรภาพในภูมิภาค
“สิ่งที่มิสเตอร์อาเบะเพิ่งพูดไปนั้น เป็นการวิพากษ์วิจารณ์แบบอำพรางไม่เปิดเผยซึ่งมุ่งเล่นงานจีนนั่นเอง” หวัง กล่าวกับ โอโนเดระ ทั้งนี้ตามรายงานของสำนักข่าวไชน่า นิวส์ เซอร์วิส ที่เป็นสำนักข่าวกึ่งทางการของแดนมังกร “ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่ถูกต้อง และขัดต่อมาตรฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ”
การต่อปากต่อคำกันระหว่าง 3 ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลก ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ เวทีการอภิปรายหารือประจำปีระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่ทหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหม ที่สิงคโปร์คราวนี้ ถือเป็นครั้งที่ดุเดือดที่สุดซึ่งเคยเกิดขึ้นบนเวทีการชุมนุมทางการทูตในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา และอาจบั่นทอนความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของมหาอำนาจกลุ่มนี้
เวที แชงกรี-ลา ไดอะล็อก ถือเป็นการประชุมหารือขนาดใหญ่ครั้งแรก นับตั้งแต่ที่ความตึงเครียดเพิ่มสูงพุ่งปริ๊ดในทะเลจีนใต้ หนึ่งในอาณาบริเวณพิพาทซึ่งยากแก่การแก้ไขคลี่คลายที่สุดของเอเชีย และก็เป็นจุดที่อาจปะทุกลายเป็นความขัดแย้งต่อสู้กันได้ง่ายดายที่สุดด้วย
สิ่งที่ทำให้พวกเขา (ฝ่ายจีน) รู้สึกวิตกมากๆ ก็คือ การที่ญี่ปุ่นกับสหรัฐฯกำลังแสดงตนเป็นพันธมิตรกันอย่างแข็งแกร่งยิ่ง และดูเหมือนกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ชิดกันมากขึ้น นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากเวทีประชุมในปีนี้” ทิม ฮักซ์ลีย์ ผู้อำนวยการบริหารของสถาบันยุทธศาสตร์ศึกษาระหว่างประเทศ (อินเตอร์เนชันแนล อินสติติวท์ ออฟ สเตรทเทจิก สตัดดีส์) ในเอเชีย ซึ่งเป็นผู้จัดการประชุมคราวนี้ ระบุ
“ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจถูกหรือการเข้าใจผิดก็ตามที แต่ฝ่ายจีนจะมองเรื่องนี้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพราะมันหมายความว่าพวกเขากำลังจะเผชิญกับพันธมิตรที่มีความกลมเกลียวสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้นนั่นเอง”
กระนั้นก็ตามที การทะเลาะขัดแย้งกันเช่นนี้ ยังไม่น่าที่จะก่อให้เกิดผลกระทบบานปลายใหญ่โต เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศมีสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางธุรกิจอันเหนียวแน่นลึกซึ้ง โดยที่ไม่มีฝ่ายใดปรารถนาจะให้สายสัมพันธ์เช่นนี้ต้องสะดุดติดขัด
“เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ยังไม่ได้อยู่ในจุดที่จะเกิดการแตกหักกัน” บอนนี เกลเซอร์ แห่ง ศูนย์เพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (เซนเตอร์ ฟอร์ สเตรทเทจิก แอนด์ อินเตอร์เนชันแนล สตัดดีส์) ในวอชิงตัน ซึ่งเป็นแขกประจำของแชงกรี-ลา ไดอะล็อก กล่าว
“พวกผู้นำต่างตระหนักดีว่าประเทศของพวกเขามีส่วนได้ส่วนเสียอันมหึมาอยู่ในความสัมพันธ์นี้ และพวกเขาก็มีความมุ่งมั่นผูกพันที่จะพยายามมองหาอาณาบริเวณซึ่งผลประโยชน์ของพวกเขาทับซ้อนกันอยู่ เป็นอาณาบริเวณซึ่งพวกเขาสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้”