นายวิเชษฐ์ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปสายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทน บสย. เปิดเผยว่า บสย.มีการวาง 5 มาตรการเพื่อเอสเอ็มอี ที่จะนำเสนอ คสช.ให้พิจารณาเร่งด่วนแล้ว โดยมาตรการที่ดำเนินการได้เองคือ มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน โดยยืดเวลาการชำระออกไป 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งมีลูกค้า บสย.ที่เข้าเกณฑ์กว่า 50,000 ราย คิดเป็นภาระค้ำประกันประมาณ 165,000 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ระหว่างการขอสินเชื่อ โดยมี บสย.ค้ำประกัน สนับสนุนเงินค่าธรรมเนียมให้กับลูกค้า
ส่วนมาตรการที่เตรียมนำเสนอต่อ คสช.เพื่อพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินเข้าไม่ถึงแหล่งทุน คือการให้รัฐจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันแทนเอสเอ็มอีในปีแรก ให้รัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มรายย่อยไมโครเอสเอ็มอี ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดย บสย.ของบประมาณ 1,150 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มโอท็อปในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ สำหรับผู้ประกอบการโอท็อปวงเงิน 1 ล้านบาท โดย บสย.ขอพิจารณาอนุมัติงบวงเงิน 1,600 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการโอท็อปเข้าถึงแหล่งเงินทุนประมาณ 10,000 ราย สร้างอาชีพให้กับธุรกิจชุมชนประมาณ 70,000 คน สร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ประมาณ 9,700 ล้านบาท
ส่วนมาตรการที่เตรียมนำเสนอต่อ คสช.เพื่อพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินเข้าไม่ถึงแหล่งทุน คือการให้รัฐจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันแทนเอสเอ็มอีในปีแรก ให้รัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มรายย่อยไมโครเอสเอ็มอี ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดย บสย.ของบประมาณ 1,150 ล้านบาท และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มโอท็อปในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ สำหรับผู้ประกอบการโอท็อปวงเงิน 1 ล้านบาท โดย บสย.ขอพิจารณาอนุมัติงบวงเงิน 1,600 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการโอท็อปเข้าถึงแหล่งเงินทุนประมาณ 10,000 ราย สร้างอาชีพให้กับธุรกิจชุมชนประมาณ 70,000 คน สร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ประมาณ 9,700 ล้านบาท