นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมา องค์กรวิชาชีพสื่อ 4 องค์กร ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เชิญบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และสถานีโทรทัศน์ทั้งฟรีทีวีและทีวีดิจิตอล มาปรึกษาหารือเรื่องการทำหน้าที่สื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์ การบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ทั้งนี้ เนื่องจากมีประกาศ คสช.หลายฉบับที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งที่ประชุมได้นำข้อห่วงใยการปฏิบัติงานของนักข่าวภาคสนาม และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนภายใต้ประกาศ คสช.ว่า ยังสามารถทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารสู่ประชาชนได้มากน้อยเพียงใด หรือประกาศ คสช.ฉบับต่างๆ จะเป็นอุปสรรคในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่ได้ประมวลความเห็นจากที่ประชุมแล้ว มีข้อสรุปร่วมกัน
1.ที่ประชุมมีความเห็นว่า นักข่าว ผู้ประกาศข่าว ผู้ดำเนินรายการ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวที่เกี่ยวข้องสื่อมวลชนทุกแขนง สามารถทำหน้าที่รายงานข่าวได้ตามปกติ แม้ว่าที่ต้องทำหน้าที่สื่อมวลชนในบรรยากาศที่เสรีภาพถูกจำกัดบ้างก็ตาม และให้ตระหนักถึงสถานการณ์พิเศษในช่วงนี้ แต่ถ้าการทำหน้าที่โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ นำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้านให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทำหน้าที่ด้วยความสุจริต ตรงไปตรงมาตามจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมวลชนก็จะได้รับการคุ้มครอง ประกาศฉบับต่างๆของ คสช.ก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
2.เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ของประชาชน ที่ประชุมเห็นควรเสนอให้ คสช.จัดระบบในการแถลงข่าวให้ชัดเจน มีการกำหนดเวลาการแถลงข่าวในแต่ละวัน และเปิดโอกาสให้นักข่าวได้ซักถามอย่างตรงไปตรงมา ให้เคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน เพราะหากประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยก็จะมีส่วนช่วยทำให้สถานการณ์ประเทศกลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว
3. สำหรับจุดมุ่งหมาย ในการปฎิรูปประเทศ ทั้งด้านโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของคนไทยที่เกิดจากวิกฤตของประเทศครั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่าการปฎิรูปประเทศต้องกระทำบนพื้นฐานที่ทุกคน ทุกฝ่าย มีส่วนร่วม และเห็นว่าเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนั้นมีความสำคัญ และต้องเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่สื่อมวลเพื่อการปฏิรูปประเทศด้วย
ทั้งนี้ เนื่องจากมีประกาศ คสช.หลายฉบับที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งที่ประชุมได้นำข้อห่วงใยการปฏิบัติงานของนักข่าวภาคสนาม และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนภายใต้ประกาศ คสช.ว่า ยังสามารถทำหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารสู่ประชาชนได้มากน้อยเพียงใด หรือประกาศ คสช.ฉบับต่างๆ จะเป็นอุปสรรคในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่ได้ประมวลความเห็นจากที่ประชุมแล้ว มีข้อสรุปร่วมกัน
1.ที่ประชุมมีความเห็นว่า นักข่าว ผู้ประกาศข่าว ผู้ดำเนินรายการ รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวที่เกี่ยวข้องสื่อมวลชนทุกแขนง สามารถทำหน้าที่รายงานข่าวได้ตามปกติ แม้ว่าที่ต้องทำหน้าที่สื่อมวลชนในบรรยากาศที่เสรีภาพถูกจำกัดบ้างก็ตาม และให้ตระหนักถึงสถานการณ์พิเศษในช่วงนี้ แต่ถ้าการทำหน้าที่โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ นำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้านให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทำหน้าที่ด้วยความสุจริต ตรงไปตรงมาตามจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมวลชนก็จะได้รับการคุ้มครอง ประกาศฉบับต่างๆของ คสช.ก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
2.เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ของประชาชน ที่ประชุมเห็นควรเสนอให้ คสช.จัดระบบในการแถลงข่าวให้ชัดเจน มีการกำหนดเวลาการแถลงข่าวในแต่ละวัน และเปิดโอกาสให้นักข่าวได้ซักถามอย่างตรงไปตรงมา ให้เคารพสิทธิ์ซึ่งกันและกัน เพราะหากประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยก็จะมีส่วนช่วยทำให้สถานการณ์ประเทศกลับสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว
3. สำหรับจุดมุ่งหมาย ในการปฎิรูปประเทศ ทั้งด้านโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของคนไทยที่เกิดจากวิกฤตของประเทศครั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นว่าการปฎิรูปประเทศต้องกระทำบนพื้นฐานที่ทุกคน ทุกฝ่าย มีส่วนร่วม และเห็นว่าเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนั้นมีความสำคัญ และต้องเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่สื่อมวลเพื่อการปฏิรูปประเทศด้วย