นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. กล่าวถึงการเตรียมเสนอกรอบระยะสั้นและระยะยาวให้กับทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. พิจารณาว่า ในระยะสั้นอยากให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจในการพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ค้างอยู่ เนื่องจากยังไม่มีประธานและรองประธานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และควรเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างประเทศให้กลับมา เพราะปัญหาการเมืองทำให้บริษัทต่างชาติรายใหญ่เริ่มไม่สั่งสินค้าจากผู้ประกอบการไทย ซึ่งทาง ส.อ.ท.เตรียมร่วมกับภาคเอกชนเชิญหอการค้าในต่างประเทศเข้ามาหารือและทำความเข้าใจว่าทางผู้ประกอบการไทยยังสามารถผลิตและส่งสินค้าได้ตามปกติ
ทั้งนี้ สิ่งที่ ส.อ.ท.กังวล คือ กฎระเบียบที่จะทำให้ภาคเอกชนเกิดปัญหาในการทำธุรกิจ ซึ่ง ส.อ.ท.ได้ให้สำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ภาครัฐบาลได้นำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนในระดับจังหวัดให้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมกับภาครัฐบาล เช่น เรื่องผังเมืองหรือเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด ส่วนในระยะยาว ส.อ.ท.เตรียมเสนอให้ออกงบประมาณในด้านโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว เนื่องจากงบประมาณในครั้งที่ผ่านมาจำนวน 5,000 ล้านบาท แม้จะมีการอนุมัติแต่ก็ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้
นอกจากนี้ ส.อ.ท.ได้ร่วมมือกับคณะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชนเตรียมเสนอกรอบ 7 ใหญ่ข้อให้กับทาง คสช. ได้แก่ เรื่องกฎระเบียบ การลงทุน หลักธรรมาภิบาล การศึกษา นวัตกรรม สังคมและขีดความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูล
อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐบาลสามารถหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนา น่าจะมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาสู่ภาครัฐบาล และการลงทุนน่าจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น แต่รัฐบาลควรมีกรอบเวลาในการปฏิรูป เพื่อเสนอให้ทาง คสช.พิจารณา และทำให้การเลือกตั้งกลับเป็นรูปธรรมอีกครั้ง ส่วนเรื่องงบประมาณการลงทุนในปีหน้าที่ทาง คสช. ได้เร่งให้ออกมาตามกำหนดในเดือนตุลาคม ปีนี้ เป็นเรื่องที่ยินดี แต่ควรเร่งผลักดันโครงการรถไฟรางคู่ โครงการรถไฟฟ้าและระบบสื่อสารมวลชนควบคู่กันไปด้วย เพราะหากไม่เร่งดำเนินการในเรื่องเหล่านี้จะทำให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก
ทั้งนี้ สิ่งที่ ส.อ.ท.กังวล คือ กฎระเบียบที่จะทำให้ภาคเอกชนเกิดปัญหาในการทำธุรกิจ ซึ่ง ส.อ.ท.ได้ให้สำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ภาครัฐบาลได้นำไปใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนในระดับจังหวัดให้มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจร่วมกับภาครัฐบาล เช่น เรื่องผังเมืองหรือเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด ส่วนในระยะยาว ส.อ.ท.เตรียมเสนอให้ออกงบประมาณในด้านโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระยะยาว เนื่องจากงบประมาณในครั้งที่ผ่านมาจำนวน 5,000 ล้านบาท แม้จะมีการอนุมัติแต่ก็ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้
นอกจากนี้ ส.อ.ท.ได้ร่วมมือกับคณะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชนเตรียมเสนอกรอบ 7 ใหญ่ข้อให้กับทาง คสช. ได้แก่ เรื่องกฎระเบียบ การลงทุน หลักธรรมาภิบาล การศึกษา นวัตกรรม สังคมและขีดความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูล
อย่างไรก็ตาม การที่ภาครัฐบาลสามารถหาเงินมาจ่ายให้กับชาวนา น่าจะมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นกลับมาสู่ภาครัฐบาล และการลงทุนน่าจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น แต่รัฐบาลควรมีกรอบเวลาในการปฏิรูป เพื่อเสนอให้ทาง คสช.พิจารณา และทำให้การเลือกตั้งกลับเป็นรูปธรรมอีกครั้ง ส่วนเรื่องงบประมาณการลงทุนในปีหน้าที่ทาง คสช. ได้เร่งให้ออกมาตามกำหนดในเดือนตุลาคม ปีนี้ เป็นเรื่องที่ยินดี แต่ควรเร่งผลักดันโครงการรถไฟรางคู่ โครงการรถไฟฟ้าและระบบสื่อสารมวลชนควบคู่กันไปด้วย เพราะหากไม่เร่งดำเนินการในเรื่องเหล่านี้จะทำให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก