นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยหลังจากลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ไฟไหม้ โรงงานบริษัท ยูเนี่ยนโซจิรุชิ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมาว่า จากเหตุการณ์ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถควบคุมสถานการณ์ภายใต้แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และสามารถอพยพคนงานประมาณ 1,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างปลอดภัย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้ กนอ.ได้สั่งปิดอาคารโรงงานเพื่อความปลอดภัย จนกว่าจะดำเนินการตรวจสอบความเสียหายและปรับปรุงแก้ไขอาคารโดยมีทีมวิศวกร จาก กนอ.เข้าร่วมตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างตัวอาคาร และนำรถตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่เข้ามาตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ ณ ชุมชนเคหะบางชัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนโดยรอบนิคมฯ บางชัน
สำหรับในส่วนของน้ำทิ้งจากการดับเพลิง จะมีการกักเก็บไว้ในรางระบายน้ำภายในโรงงานมิให้ออกสู่ลำรางภายนอกเพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียตามขั้นตอนต่อไป เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชุมชนโดยรอบนิคมฯ บางชันด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ กนอ.ได้เชิญผู้ประกอบการในนิคมฯ บางชัน เข้าร่วมประชุมหารือ โดยขอให้ทุกโรงงานให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่างๆ ภายในโรงงาน ระบบสัญญาณเตือนภัย ระบบขนส่งและเส้นทางเดินรถ (Logistics) ทางเข้า - ออก และการเตรียมความพร้อมทั้งด้านการสื่อสาร การอพยพคนงาน ตลอดจนจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ภายในโรงงานให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นฐานข้อมูล ซึ่งการเตรียมการป้องกัน
ความพร้อม และมาตรการต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการสูญเสียหากเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถร่วมกันบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที และ กนอ.พร้อมเป็นหน่วยงานกลางในการประสานขอความร่วมมือต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน
สำหรับในส่วนของน้ำทิ้งจากการดับเพลิง จะมีการกักเก็บไว้ในรางระบายน้ำภายในโรงงานมิให้ออกสู่ลำรางภายนอกเพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียตามขั้นตอนต่อไป เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชุมชนโดยรอบนิคมฯ บางชันด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ กนอ.ได้เชิญผู้ประกอบการในนิคมฯ บางชัน เข้าร่วมประชุมหารือ โดยขอให้ทุกโรงงานให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ตรวจสอบระบบความปลอดภัยต่างๆ ภายในโรงงาน ระบบสัญญาณเตือนภัย ระบบขนส่งและเส้นทางเดินรถ (Logistics) ทางเข้า - ออก และการเตรียมความพร้อมทั้งด้านการสื่อสาร การอพยพคนงาน ตลอดจนจัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ภายในโรงงานให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นฐานข้อมูล ซึ่งการเตรียมการป้องกัน
ความพร้อม และมาตรการต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการสูญเสียหากเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถร่วมกันบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที และ กนอ.พร้อมเป็นหน่วยงานกลางในการประสานขอความร่วมมือต่างๆ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างกัน