นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การทุจริต การเมือง ความอยู่รอดของประเทศ" เนื่องในวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในประเทศไทยฝังรากลึก โดยการประมูลงาน การจัดซื้อจัดจ้าง มีการสมยอม (ฮั้ว) กันอย่างชัดเจน ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ เพราะทำให้ระบบของประเทศไทยไม่เอื้อต่อการแข่งขันโดยเสรี นักลงทุนลังเลที่จะเข้ามาลงทุนที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม แต่การทุจริตคอร์รัปชั่นยังมีมาก
นอกจากนี้ ยังกระทบกับการแก้ไขปัญหาความยากจน เพราะการทุจริตจะไปทำลายปัจจัยเกื้อหนุนด้านเศรษฐกิจ การลงทุนด้านต่างๆ ของรัฐ
นายวิชา กล่าวย้ำว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะทำให้เลือกปฏิบัติต่อคนยากจน และกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเชื่อทัศนคติของคนในสังคมให้เห็นว่าการทุจริตไม่ใช่เรื่องเสียหาย บ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตย เกิดความไม่เชื่อถือศรัทธาในตัวนักการเมือง ดังนั้นต้องไม่ปล่อยให้ระบบที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยดำเนินต่อไป
ทั้งนี้ มองว่าบุคคล 3 กลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญในการปราบปรามการทุจริต คือ นักการเมือง ข้าราชการประจำ และนักธุรกิจ โดยรัฐบาลต้องให้ความสำคัญจริงจังในการสร้างระบบคุณธรรมที่สอนให้เรียนรู้ถึงการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวมตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีกระบวนการกลั่นกรองคัดเลือกคนอย่างจริงจัง โดยยึดหลักการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
นอกจากนี้ ยังกระทบกับการแก้ไขปัญหาความยากจน เพราะการทุจริตจะไปทำลายปัจจัยเกื้อหนุนด้านเศรษฐกิจ การลงทุนด้านต่างๆ ของรัฐ
นายวิชา กล่าวย้ำว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะทำให้เลือกปฏิบัติต่อคนยากจน และกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเชื่อทัศนคติของคนในสังคมให้เห็นว่าการทุจริตไม่ใช่เรื่องเสียหาย บ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตย เกิดความไม่เชื่อถือศรัทธาในตัวนักการเมือง ดังนั้นต้องไม่ปล่อยให้ระบบที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นในสังคมไทยดำเนินต่อไป
ทั้งนี้ มองว่าบุคคล 3 กลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญในการปราบปรามการทุจริต คือ นักการเมือง ข้าราชการประจำ และนักธุรกิจ โดยรัฐบาลต้องให้ความสำคัญจริงจังในการสร้างระบบคุณธรรมที่สอนให้เรียนรู้ถึงการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวมตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงระดับมหาวิทยาลัย มีกระบวนการกลั่นกรองคัดเลือกคนอย่างจริงจัง โดยยึดหลักการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน