ศาลรัฐธรรมนูญของรัสเซียตัดสินในวันพุธ รับรองสนธิสัญญาผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซีย ซึ่งปูตินกับเหล่าผู้นำไครเมียลงนามไปในวันอังคาร (18) จึงเหลือเพียงด่านสุดท้ายคือรัฐสภาแดนหมีขาว ซึ่งคาดว่า จะลงคะแนนเสียงให้สัตยาบันสนธิสัญญาฉบับนี้อย่างท่วมท้นในการประชุมวันศุกร์ (21) นี้
ทั้งนี้ ไครเมียได้จัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ (16) ที่ผ่านมา ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงถึง 97% สมัครใจแยกตัวจากยูเครนและผนวกกับรัสเซีย
ทว่า ตะวันตกและยูเครนประณามว่า การทำประชามติดังกล่าวจัดขึ้นอย่างผิดกฎหมาย และผลการลงประชามติจึงไม่เป็นที่ยอมรับ
ในวันจันทร์ (17) อเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศมาตรการลงโทษ ซึ่งอยู่ในรูปของการไม่ให้วีซ่าและยึดทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่หลายคนของรัสเซียและยูเครน ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องในปฏิบัติการของมอสโกในไครเมีย พร้อมขู่ว่า จะขยายมาตรการลงโทษหากมีการลงนามสนธิสัญญาผนวกไครเมีย
ทว่า มอสโกหาได้กลัวเกรงไม่ โดยนอกจากจะเดินหน้าลงนามสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว กระทรวงการต่างประเทศแดนหมีขาวยังออกคำแถลงเตือนว่า การลงโทษของตะวันตกนั้นเป็นเรื่องที่รัสเซีย “ยอมรับไม่ได้" และขู่ว่าจะตอบโต้กลับ
วิกฤตยูเครนเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หลังจากวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีในขณะนั้นที่ให้การสนับสนุนรัสเซีย ยกเลิกการลงนามข้อตกลงการค้าและการเมืองกับอียู และหันไปคบค้าสมาคมใกล้ชิดกับมอสโกแทน
ยานูโควิชหนีไปรัสเซียเมื่อวันที่ 22 เดือนที่แล้ว หลังมีการประท้วงรุนแรงในเคียฟ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 80 คน จากนั้นพวกผู้ประท้วงซึ่งนิยมอียู ก็ขึ้นครองอำนาจท่ามกลางความสนับสนุนของสหรัฐฯและยุโรป แต่รัสเซียไม่ให้การรับรองโดยระบุว่าเข้าสู่ตำแหน่งอย่างผิดกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญยูเครน และกระทำการแบบยึดอำนาจด้วยกำลัง
สำหรับไครเมียนั้น เคยเป็นของรัสเซียมาเป็นร้อยๆ ปี และประชากรส่วนใหญ่ก็เป็นคนพูดภาษารัสเซีย แต่ได้ถูกยกไปให้แก่ยูเครนเมื่อปี 1954
ทั้งนี้ ไครเมียได้จัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ (16) ที่ผ่านมา ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงถึง 97% สมัครใจแยกตัวจากยูเครนและผนวกกับรัสเซีย
ทว่า ตะวันตกและยูเครนประณามว่า การทำประชามติดังกล่าวจัดขึ้นอย่างผิดกฎหมาย และผลการลงประชามติจึงไม่เป็นที่ยอมรับ
ในวันจันทร์ (17) อเมริกาและสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศมาตรการลงโทษ ซึ่งอยู่ในรูปของการไม่ให้วีซ่าและยึดทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่หลายคนของรัสเซียและยูเครน ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องในปฏิบัติการของมอสโกในไครเมีย พร้อมขู่ว่า จะขยายมาตรการลงโทษหากมีการลงนามสนธิสัญญาผนวกไครเมีย
ทว่า มอสโกหาได้กลัวเกรงไม่ โดยนอกจากจะเดินหน้าลงนามสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว กระทรวงการต่างประเทศแดนหมีขาวยังออกคำแถลงเตือนว่า การลงโทษของตะวันตกนั้นเป็นเรื่องที่รัสเซีย “ยอมรับไม่ได้" และขู่ว่าจะตอบโต้กลับ
วิกฤตยูเครนเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หลังจากวิกเตอร์ ยานูโควิช ประธานาธิบดีในขณะนั้นที่ให้การสนับสนุนรัสเซีย ยกเลิกการลงนามข้อตกลงการค้าและการเมืองกับอียู และหันไปคบค้าสมาคมใกล้ชิดกับมอสโกแทน
ยานูโควิชหนีไปรัสเซียเมื่อวันที่ 22 เดือนที่แล้ว หลังมีการประท้วงรุนแรงในเคียฟ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 80 คน จากนั้นพวกผู้ประท้วงซึ่งนิยมอียู ก็ขึ้นครองอำนาจท่ามกลางความสนับสนุนของสหรัฐฯและยุโรป แต่รัสเซียไม่ให้การรับรองโดยระบุว่าเข้าสู่ตำแหน่งอย่างผิดกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญยูเครน และกระทำการแบบยึดอำนาจด้วยกำลัง
สำหรับไครเมียนั้น เคยเป็นของรัสเซียมาเป็นร้อยๆ ปี และประชากรส่วนใหญ่ก็เป็นคนพูดภาษารัสเซีย แต่ได้ถูกยกไปให้แก่ยูเครนเมื่อปี 1954