นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในช่วงที่อากาศร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ประเมินว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) จะอยู่ช่วงวันที่ 23-24 เมษายน ที่ 26,752 เมกะวัตต์ โดยในช่วงดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซบงกชระหว่างวันที่ 10-27 เมษายน กระทรวงพลังงานได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในการป้องกันปัญหา และขอยืนยันว่าไฟฟ้าจะไม่ดับ เพราะจะมีสำรองเหลืออยู่ประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ แต่ที่เป็นห่วง คือ การใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ที่มีความเสี่ยงจากการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน-10 กรกฎาคมนี้ จะทำให้โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา 700 เมกะวัตต์ ต้องหยุดผลิต ในขณะความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้อยู่ที่ 2,543 เมกะวัตต์ แต่กำลังการผลิตในพื้นที่มี 2,300 เมกะวัตต์ จะทำให้ไฟฟ้าขาดแคลนในช่วงพีคหัวค่ำ 200 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานจึงหมอบหมายให้ทุกหน่วยงานช่วยดูแลไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัด โดยจะรณรงค์ประหยัดพลังงาน ให้ กฟผ.ส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปเสริมภาคใต้เพิ่มจาก 500 เป็นไม่ต่ำกว่า 700 เมกะวัตต์ และหากไฟฟ้าไม่เพียงพอจริงอาจจำเป็นต้องดับไฟฟ้าบางพื้นที่ให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด ซึ่งจะซ้อมรับมือหลังสงกรานต์
ทั้งนี้ นายสุเทพ ยังได้มอบสัญญาความร่วมมือให้เอกชน 10 แห่ง เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเลี้ยงช้าง (หญ้าเนเปียร์) กำหนดเป้าผลิตไฟฟ้า 3,000 เมกะวัตต์ แต่ภาคเอกชนเห็นว่าราคารับซื้อไฟฟ้าที่หน่วยละ 4.50 บาท ไม่คุ้มการลงทุน จึงได้สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทบทวนราคารับซื้อไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ใหม่
ทั้งนี้ นายสุเทพ ยังได้มอบสัญญาความร่วมมือให้เอกชน 10 แห่ง เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเลี้ยงช้าง (หญ้าเนเปียร์) กำหนดเป้าผลิตไฟฟ้า 3,000 เมกะวัตต์ แต่ภาคเอกชนเห็นว่าราคารับซื้อไฟฟ้าที่หน่วยละ 4.50 บาท ไม่คุ้มการลงทุน จึงได้สั่งให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ทบทวนราคารับซื้อไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ใหม่