นายถาวร เสนเนียม แกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวงถึงกรณีที่ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญเสนอเป็นคนกลางในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ว่า ต้องรอฟังการแถลงแนวทางที่จะหาทางออกให้กับประเทศของ 7 องค์กร ในวันจันทร์ที่ 17 มีนาคมนี้ก่อน ว่า มีข้อสรุปอย่างไร ทางแกนนำ กปปส.จึงจะประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดท่าทีในการดำเนินการ ขณะนี้จึงยังตอบไม่ได้ว่าจะตอบรับเข้าร่วมเจรจาหรือไม่ แต่เห็นว่าต้องให้โอกาสองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จะเข้ามาเป็นคนกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ก่อนหน้านี้แกนนำพรรคเพื่อไทย ทั้งนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และนายนพดล ปัทมะ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค ระบุตรงกันว่าพรรคเพื่อไทยพร้อมสนับสนุนการเป็นตัวกลางแก้ปัญหาความขัดแย้งของ 7 องค์กรอย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี หากมีการร้องขอจะร่วมมือส่งตัวแทนไปร่วมเจรจา แต่จะทำได้แค่ไหน อย่างไร ต้องดูเนื้อหาสาระที่จะมีการแถลงออกมา
ขณะเดียวกันแกนนำพรรคเพื่อไทยย้ำว่า การเจรจาต้องยึดมั่นในกฎกติกา รัฐธรรมนูญ และกฎหมายสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะองค์กรอิสระต่างๆ ต้องให้ความเป็นธรรม และขจัด 2 มาตรฐานออกไปจากสังคมก่อนความขัดแย้งจึงจะคลี่คลายลงได้
สำหรับ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนองค์กรอัยการปฏิเสธการเข้ารวมเป็นคนกลาง โดยให้เหตุผลว่าอัยการถือเป็นหน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมาย ไม่อาจจะเป็นตัวกลางช่วยเจรจาให้ฝ่ายใดได้
ก่อนหน้านี้แกนนำพรรคเพื่อไทย ทั้งนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และนายนพดล ปัทมะ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค ระบุตรงกันว่าพรรคเพื่อไทยพร้อมสนับสนุนการเป็นตัวกลางแก้ปัญหาความขัดแย้งของ 7 องค์กรอย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี หากมีการร้องขอจะร่วมมือส่งตัวแทนไปร่วมเจรจา แต่จะทำได้แค่ไหน อย่างไร ต้องดูเนื้อหาสาระที่จะมีการแถลงออกมา
ขณะเดียวกันแกนนำพรรคเพื่อไทยย้ำว่า การเจรจาต้องยึดมั่นในกฎกติกา รัฐธรรมนูญ และกฎหมายสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยเฉพาะองค์กรอิสระต่างๆ ต้องให้ความเป็นธรรม และขจัด 2 มาตรฐานออกไปจากสังคมก่อนความขัดแย้งจึงจะคลี่คลายลงได้
สำหรับ 7 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนองค์กรอัยการปฏิเสธการเข้ารวมเป็นคนกลาง โดยให้เหตุผลว่าอัยการถือเป็นหน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมาย ไม่อาจจะเป็นตัวกลางช่วยเจรจาให้ฝ่ายใดได้