นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. แถลงถึงความคืบหน้ากรณีที่ยื่นเรื่องต่อศาลแพ่ง เพื่อขอให้ดำเนินการกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) จากกรณีลงนามในคำสั่งเนรเทศนายสาธิต เซกัล นายกสมาคมนักธุรกิจไทย-อินเดีย ว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการละเมิดคำสั่งศาลแพ่ง ซึ่งหลังจากที่ตนได้ยื่นคำร้อง ศาลได้รับคำร้องและนัดไต่สวนในวันที่ 25 มีนาคมนี้ โดยจะมีการเรียกโจทก์และจำเลยมาไต่สวนพร้อมกัน
นอกจากนี้ นายถาวร ยังกล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ได้มีข้อสรุปและมีหนังสือไปถึง ร.ต.อ.เฉลิม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายสาธิต โดยระบุใน 5 ประเด็นคือ 1.นายสาธิต มีถิ่นที่อยู่ถาวรในราชอาณาจักรมาแล้วกว่า 50 ปี และมีชื่ออยู่ในเอกสาร ทร.14 ดังนั้นจึงสามารถอยู่ในประเทศได้โดยไม่ต้องขอเอกสารอนุมัติ การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 11 ในการเนรเทศนั้น ต้องคำนึงถึงการถูกแทรกแซงสิทธิในการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวตามกติการะหว่างประเทศ ซึ่งไทยได้เป็นภาคีสมาชิกอยู่ในขณะนี้
ขณะเดียวกัน การใช้อำนาจต้องระมัดระวัง และต้องอยู่บนพื้นฐานสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ โดยในกรณีของนายสาธิต ซึ่งมีหมายจับในข้อหากบฏอยู่ ดังนั้น จึงต้องอยู่ในประเทศจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งหากมีการสั่งเนรเทศ ก็เท่ากับว่าเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โดยช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาออกนอกประเทศโดยไม่ต้องการรับโทษ รวมทั้งการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองเป็นการพิจารณาที่ขัดหลักธรรมมาภิบาล และสุดท้าย ศาลแพ่งได้ให้การคุ้มครอง ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถใช้ข้อบังคับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ ดังนั้น การเนรเทศจึงไม่สามารถเนินการได้เช่นกัน ตนจึงขอให้มีการทบทวนเรื่องนี้ เพราะถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายซ้ำ ซึ่งอาจนำมาซึ่งการดำเนินคดีอาญา อีกทั้งยังกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดีย ซึ่งอาจมีการมองว่ารัฐบาลใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงกระบวนการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ กปปส.จะพยายามดำเนินการให้รัฐบาลพ้นสภาพโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ นายถาวร ยังกล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ได้มีข้อสรุปและมีหนังสือไปถึง ร.ต.อ.เฉลิม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และนายสาธิต โดยระบุใน 5 ประเด็นคือ 1.นายสาธิต มีถิ่นที่อยู่ถาวรในราชอาณาจักรมาแล้วกว่า 50 ปี และมีชื่ออยู่ในเอกสาร ทร.14 ดังนั้นจึงสามารถอยู่ในประเทศได้โดยไม่ต้องขอเอกสารอนุมัติ การใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาตรา 11 ในการเนรเทศนั้น ต้องคำนึงถึงการถูกแทรกแซงสิทธิในการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวตามกติการะหว่างประเทศ ซึ่งไทยได้เป็นภาคีสมาชิกอยู่ในขณะนี้
ขณะเดียวกัน การใช้อำนาจต้องระมัดระวัง และต้องอยู่บนพื้นฐานสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ โดยในกรณีของนายสาธิต ซึ่งมีหมายจับในข้อหากบฏอยู่ ดังนั้น จึงต้องอยู่ในประเทศจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งหากมีการสั่งเนรเทศ ก็เท่ากับว่าเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โดยช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาออกนอกประเทศโดยไม่ต้องการรับโทษ รวมทั้งการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองเป็นการพิจารณาที่ขัดหลักธรรมมาภิบาล และสุดท้าย ศาลแพ่งได้ให้การคุ้มครอง ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถใช้ข้อบังคับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้ ดังนั้น การเนรเทศจึงไม่สามารถเนินการได้เช่นกัน ตนจึงขอให้มีการทบทวนเรื่องนี้ เพราะถือเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายซ้ำ ซึ่งอาจนำมาซึ่งการดำเนินคดีอาญา อีกทั้งยังกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยและอินเดีย ซึ่งอาจมีการมองว่ารัฐบาลใช้อำนาจโดยไม่คำนึงถึงกระบวนการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ กปปส.จะพยายามดำเนินการให้รัฐบาลพ้นสภาพโดยเร็วที่สุด