นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากปัญหาโรคไตวายเรื้อรังที่มีการคาดการณ์ว่า มีคนไทยกว่า 8 ล้านคน ป่วย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายกว่า 200,000 คน ผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นปีละกว่า 10,000 คน แต่ละปีมีผู้ป่วยรอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 คน แต่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเพียง 400 คนต่อปี ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคไตวายปีละกว่า 13,000 คน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษายังสูง เฉลี่ย 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน ทำให้แต่ละปีจะต้องใช้งบประมาณถึง 3,000 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 17,000 ล้านบาท ในปี 2560
กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสาขาโรคไต ตั้งแต่ปี 2556-2560 เพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการโรคไตที่มีคุณภาพเสมอภาคทุกเครือข่าย และพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลให้สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายไต และเป็นศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โดยในปีนี้ตั้งเป้าพัฒนาทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพ อาทิ การตรวจคัดกรองปัญหาไตวายในกลุ่มเสี่ยงสำคัญ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหติสูง และโรคไต ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และเพิ่มเป็นร้อยละ 90 ในปี 2558
ทั้งนี้ จากที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคม ของทุกปี เป็นวันไตโลก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดสัปดาห์รณรงค์ลดการบริโภคเค็ม และสัปดาห์วันไตโลก ขึ้น ระหว่างวันที่ 10-16 มีนาคมนี้ ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ทั่วประเทศ
กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสาขาโรคไต ตั้งแต่ปี 2556-2560 เพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการโรคไตที่มีคุณภาพเสมอภาคทุกเครือข่าย และพัฒนาขีดความสามารถของโรงพยาบาลให้สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายไต และเป็นศูนย์รับบริจาคอวัยวะ โดยในปีนี้ตั้งเป้าพัฒนาทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพ อาทิ การตรวจคัดกรองปัญหาไตวายในกลุ่มเสี่ยงสำคัญ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหติสูง และโรคไต ครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และเพิ่มเป็นร้อยละ 90 ในปี 2558
ทั้งนี้ จากที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคม ของทุกปี เป็นวันไตโลก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดสัปดาห์รณรงค์ลดการบริโภคเค็ม และสัปดาห์วันไตโลก ขึ้น ระหว่างวันที่ 10-16 มีนาคมนี้ ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง ทั่วประเทศ