นายอูริค ซาเกา ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับล่าสุด ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 4 ซึ่งได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ร้อยละ 6 จากปีก่อน ที่ติดลบร้อยละ 0.4 โดยธนาคารโลกยังคงติดตามปัจจัยเสี่ยง คือการชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อ จนกระทบต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งหากรัฐบาลชุดปัจจุบันยังเป็นรัฐบาลรักษาการอีกนาน และไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ ก็จะกระทบต่อการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนใหม่ให้สะดุดลง และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจก็อาจจะปรับตัวลดลงกว่าที่คาดการณ์ แต่เชื่อว่ามีโอกาสต่ำมากที่ไทยจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แม้จะเกิดภาวะสุญญากาศทางการเมืองก็ตาม
ทางด้าน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 56 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3 การส่งออก การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐชะลอลงจากปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง กระทบภาคการท่องเที่ยว ทำให้ในปีนี้จะขยายตัวได้แค่ร้อยละ 10 จากปีก่อนที่โตถึงร้อยละ 20 และความไม่แน่นอนทางการเมืองก็จะยังทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน จะโตได้ร้อยละ 5 ซึ่งต่างชาติยังคงมองว่าไทยน่าลงทุน เพราะมีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานอย่างดี สะท้อนจากตัวเลขส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนการบริโภคยังคงอ่อนแอจากความไม่แน่นอนทางการเมือง
ด้านภาคการส่งออก แม้จะเป็นตัวผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยขยายตัวร้อยละ 6 หรือมีมูลค่า 208,920 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ประเทศไทยยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินของโลก สาเหตุเพราะไทยผลิตสินค้าที่ไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรว์ฟ ส่วนการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ดุลการค้า เกินดุลประมาณร้อยละ 2.3 ของจีดีพี
ทางด้าน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 56 ขยายตัวเพียงร้อยละ 3 การส่งออก การบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐชะลอลงจากปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง กระทบภาคการท่องเที่ยว ทำให้ในปีนี้จะขยายตัวได้แค่ร้อยละ 10 จากปีก่อนที่โตถึงร้อยละ 20 และความไม่แน่นอนทางการเมืองก็จะยังทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน จะโตได้ร้อยละ 5 ซึ่งต่างชาติยังคงมองว่าไทยน่าลงทุน เพราะมีระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานอย่างดี สะท้อนจากตัวเลขส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนการบริโภคยังคงอ่อนแอจากความไม่แน่นอนทางการเมือง
ด้านภาคการส่งออก แม้จะเป็นตัวผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยขยายตัวร้อยละ 6 หรือมีมูลค่า 208,920 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ประเทศไทยยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินของโลก สาเหตุเพราะไทยผลิตสินค้าที่ไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดโลก เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรว์ฟ ส่วนการนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ดุลการค้า เกินดุลประมาณร้อยละ 2.3 ของจีดีพี