นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนธันวาคม 56 อยู่ที่ 168.7 ลดลง 6.13% ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 9 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 56 เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งลดลงเป็นหลัก ส่งผลให้ทั้งปีดัชนีเอ็มพีไอลดลง 3.2% อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 64.38% และผลิตภัณ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตฯ ทั้งปีขยายตัวเพียง 0.2% ส่วนการประมาณการจีดีพีภาคอุตสาหกรรมปี 57 คาดว่าขยายตัว 3-4% และเอ็มพีไอจะขยายตัว 1.5-2.5% เนื่องจากได้แรงหนุนจากภาคการส่งออก ตามเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลกจาก 3.3% เป็น 3.6% และคาดว่าการส่งออกอุตสาหกรรมไทยปี 57 จะขยายตัว5% จากปี 56 ที่คาดว่าส่งออกจะอยู่ที่ 3% และกลุ่มที่ขยายตัวดีคือยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ โดยการประเมินดังกล่าว ยังไม่รวมผลกระทบทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ 3-4 เดือน จะส่งผลกระทบต่อจีดีพีภาคอุตสาหกรรม 1.1% หรือ 50,000 ล้านบาท เทียบจากมูลค่าปัจจุบันที่ 4.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากภาครัฐ จะไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนได้ และส่งผลต่อเนื่องให้ภาคลงทุนเอกชนลดลง 5% แต่หากการลงทุนภาครัฐยังเดินหน้าได้ จะส่งผลกระทบเฉพาะการบริโภค และส่งผลต่อจีดีพีอุตสาหกรรม 0.4% และจะประเมินผลกระทบอย่างชัดเจนอีกครั้ง หลังจากผ่านไตรมาส 1 ไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ 3-4 เดือน จะส่งผลกระทบต่อจีดีพีภาคอุตสาหกรรม 1.1% หรือ 50,000 ล้านบาท เทียบจากมูลค่าปัจจุบันที่ 4.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากภาครัฐ จะไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนได้ และส่งผลต่อเนื่องให้ภาคลงทุนเอกชนลดลง 5% แต่หากการลงทุนภาครัฐยังเดินหน้าได้ จะส่งผลกระทบเฉพาะการบริโภค และส่งผลต่อจีดีพีอุตสาหกรรม 0.4% และจะประเมินผลกระทบอย่างชัดเจนอีกครั้ง หลังจากผ่านไตรมาส 1 ไปแล้ว