อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง "หลังเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 คนอีสานคิดอย่างไร" ซึ่งเป็นการสำรวจระหว่างวันที่ 5-6 ก.พ.2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,058 ราย ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ หนองคาย ชัยภูมิ เลย อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และบึงกาฬ พบว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอีสานร้อยละ 60 สงวนท่าทีมากขึ้น ในการสนับสนุนพรรคการเมือง ส่วนร้อยละ 40.2 ยังไม่แน่ใจว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์มีความชอบธรรมเพียงพอหรือไม่
นอกจากนี้ ร้อยละ 50.9 เห็นว่าไม่สามารถทำได้ เพราะการเลือกตั้งอาจโมฆะหรือมีอุบัติเหตุทางการเมือง และร้อยละ 91.0 ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิวัติโดยทหาร ร้อยละ 87.3 ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ กปปส.
ทั้งนี้ มี 3 แนวทางที่คนอีสานเกินครึ่งรับได้ คือ จัดเลือกตั้งจนกว่าจะตั้งรัฐบาลได้ แล้วค่อยปฏิรูปประเทศ การล้างไพ่เลือกตั้งใหม่ ทุกพรรคลงแข่งขัน พร้อมลงสัตยาบันปฏิรูปประเทศ และการเจรจา แล้วเลือกนายกฯ คนกลาง โดยวุฒิสภา มีสภาปฏิรูปจากทุกภาคส่วนที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เพื่อปฏิรูปประเทศ และจัดเลือกตั้งใหม่
นอกจากนี้ ร้อยละ 50.9 เห็นว่าไม่สามารถทำได้ เพราะการเลือกตั้งอาจโมฆะหรือมีอุบัติเหตุทางการเมือง และร้อยละ 91.0 ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิวัติโดยทหาร ร้อยละ 87.3 ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ กปปส.
ทั้งนี้ มี 3 แนวทางที่คนอีสานเกินครึ่งรับได้ คือ จัดเลือกตั้งจนกว่าจะตั้งรัฐบาลได้ แล้วค่อยปฏิรูปประเทศ การล้างไพ่เลือกตั้งใหม่ ทุกพรรคลงแข่งขัน พร้อมลงสัตยาบันปฏิรูปประเทศ และการเจรจา แล้วเลือกนายกฯ คนกลาง โดยวุฒิสภา มีสภาปฏิรูปจากทุกภาคส่วนที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เพื่อปฏิรูปประเทศ และจัดเลือกตั้งใหม่