นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มราคาสินค้าในปี 57 อาจมีการปรับราคาขึ้นบ้างในกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้ามาผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศ และสินค้านำเข้าสำเร็จรูป เช่น แป้ง เนย ส่วนผสมขนมเค้ก เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่สินค้ากลุ่มอื่นๆ คงไม่มีการปรับราคา เนื่องจากไตรมาสแรกของปี 57 กำลังซื้อคนไทย คาดว่ายังลดลงจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
ทั้งนี้ เชื่อว่าภาพรวมราคาสินค้าในปี 57 จะไม่แตกต่างจากปี 56 อาจจะปรับบ้างเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากบาทอ่อน แต่กลุ่มอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ มากนัก และที่สำคัญ การปรับราคาสินค้าท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนคงเป็นเรื่องยาก
ส่วนภาคการส่งออกจะได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง แต่ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองขณะนี้ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า (ออร์เดอร์) เริ่มได้รับผลกระทบ เนื่องจากลูกค้าเริ่มไม่เชื่อมั่นว่าไทยจะส่งสินค้าได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้เกิดการชะลอคำสั่งซื้อ โดยปัญหาดังกล่าวจะไปส่งผลกระทบการส่งออกในไตรมาส 2 เนื่องจากไตรมาส 1 ของปี 57 นั้นมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปแล้ว ช่วงสิ้นปีจึงยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ราคาสินค้าในปี 57 มีแนวโน้มปรับขึ้น แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการในการแบกรับภาระ เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีผลกระทบจากปัจจัยค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ราคาวัตถุดิบ ค่าขนส่งภาพรวม ปรับขึ้นมาต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าการปรับราคาอาจทำไม่ได้คลอบคลุมมากนัก เนื่องจากปัจจัยหลัก คือ แรงซื้อที่ลดต่ำ และอีกส่วนหนึ่ง หลายสินค้าถูกขอความร่วมมือให้ตรึงราคาสินค้าไว้
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ภาพรวมราคาสินค้าถูกอั้นมาพอสมควร หากปีหน้าเศรษฐกิจขยายตัวดีกว่า ปีนี้โอกาสที่จะขึ้นราคาก็มีมาก เพราะอย่าลืมว่าราคาพลังงานปีหน้าก็สูงขึ้นในหลายๆ ตัว ทั้งน้ำมัน ค่าไฟ แอลพีจี ทุกอย่างก็ล้วนเป็นต้นทุนเช่นกัน วัตถุดิบการเกษตรหลายตัวก็ปรับขึ้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นปี 57 คาดว่าจะมีการวางแผนที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น หลังจากส่วนหนึ่งได้ขยายการลงทุนไปบ้างแล้ว เนื่องจากเมื่อค่าแรง 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ส่งผลให้การขยายการลงทุนไปต่างจังหวัดไม่คุ้มค่าเช่นอดีต ที่ค่าแรงต่างจังหวัดมีราคาต่ำกว่า ดังนั้นระยะยาวอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในไทยจะเริ่มลดขนาดการลงทุนในไทยลงต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เชื่อว่าภาพรวมราคาสินค้าในปี 57 จะไม่แตกต่างจากปี 56 อาจจะปรับบ้างเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากบาทอ่อน แต่กลุ่มอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ มากนัก และที่สำคัญ การปรับราคาสินค้าท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนคงเป็นเรื่องยาก
ส่วนภาคการส่งออกจะได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง แต่ยอมรับว่า ปัญหาการเมืองขณะนี้ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า (ออร์เดอร์) เริ่มได้รับผลกระทบ เนื่องจากลูกค้าเริ่มไม่เชื่อมั่นว่าไทยจะส่งสินค้าได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้เกิดการชะลอคำสั่งซื้อ โดยปัญหาดังกล่าวจะไปส่งผลกระทบการส่งออกในไตรมาส 2 เนื่องจากไตรมาส 1 ของปี 57 นั้นมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าไปแล้ว ช่วงสิ้นปีจึงยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ราคาสินค้าในปี 57 มีแนวโน้มปรับขึ้น แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ประกอบการในการแบกรับภาระ เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีผลกระทบจากปัจจัยค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ราคาวัตถุดิบ ค่าขนส่งภาพรวม ปรับขึ้นมาต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าการปรับราคาอาจทำไม่ได้คลอบคลุมมากนัก เนื่องจากปัจจัยหลัก คือ แรงซื้อที่ลดต่ำ และอีกส่วนหนึ่ง หลายสินค้าถูกขอความร่วมมือให้ตรึงราคาสินค้าไว้
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ภาพรวมราคาสินค้าถูกอั้นมาพอสมควร หากปีหน้าเศรษฐกิจขยายตัวดีกว่า ปีนี้โอกาสที่จะขึ้นราคาก็มีมาก เพราะอย่าลืมว่าราคาพลังงานปีหน้าก็สูงขึ้นในหลายๆ ตัว ทั้งน้ำมัน ค่าไฟ แอลพีจี ทุกอย่างก็ล้วนเป็นต้นทุนเช่นกัน วัตถุดิบการเกษตรหลายตัวก็ปรับขึ้น
สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นปี 57 คาดว่าจะมีการวางแผนที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น หลังจากส่วนหนึ่งได้ขยายการลงทุนไปบ้างแล้ว เนื่องจากเมื่อค่าแรง 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ส่งผลให้การขยายการลงทุนไปต่างจังหวัดไม่คุ้มค่าเช่นอดีต ที่ค่าแรงต่างจังหวัดมีราคาต่ำกว่า ดังนั้นระยะยาวอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในไทยจะเริ่มลดขนาดการลงทุนในไทยลงต่อเนื่อง